Page 13 - kpiebook62015
P. 13
จัดระบบข้อมูล หาความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องและความหมายที่ปรากฎในความเกี่ยวข้องนั้น ซึ่ง
น ามาเป็นผลการศึกษา
ในการวิเคราะห์ข้อมูลและสังเคราะห์องค์ความรู้ในการศึกษาเชิงคุณภาพครั้งนี้ ยึด
หลักการส าคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ คือการเชื่อในความจริงที่ปรากฏและใช้อัตวิสัย
(subjectivity) อธิบายเป็นความรู้ (Knowledge) โดยผู้ศึกษาเป็นผู้ตีความ (content analysis)
ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาใช้หลักการตีความเนื้อหา 2 หลักการ คือ 1) การให้ความส าคัญกับ
เนื้อหาที่ส าคัญที่สุดจากประเด็นที่ปรากฏ อาจจ าแนกเป็นข้อ ๆ ตามเนื้อหา โดยเน้นค าหลัก ค า
ส าคัญ สัญลักษณ์ หรือ อื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าหลัก constructionism และ 2) การตีความ หรือ หลัก
interpretivism คือ การตีความตามความจริงที่คาดว่ามีนัยยะหรือแสดงว่าจะเป็นเช่นที่ให้
เนื้อความไว้
1.4 ขอบเขตและข้อจ ากัดในการศึกษา
1. การสังเคราะห์องค์ความรู้นี้เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนหนึ่งด้วยการสัมภาษณ์
สังเกตการณ์ และ สนทนากลุ่มกับผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ กลุ่มแกนน า และ ประชาชนที่
เข้าร่วมโครงการที่แกนน าจัดขึ้น ความแตกต่างของภูมิหลัง เช่น การศึกษา บทบาท
ต าแหน่งหน้าที่ อาชีพการงาน ประสบการณ์ และ การรับรู้ ต่อสังคมและการเมือง
ล้วนมีผลต่อความคิดเห็น ซึ่งการสังเคราะห์จะเป็นไปในกรอบความคิดหลักร่วมกัน
2. การสังเคราะห์องค์ความรู้นี้ใช้เอกสารรายงานที่เก็บรวบรวมระหว่างปีงบประมาณ
พ.ศ. 2559 ถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ร่วมกับข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์
การสังเกต และการถอดบทเรียน อย่างไรก็ตาม ผู้ศึกษาไม่พบงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
กับการเสริมสร้างพลังพลเมืองแบบบูรณาการพื้นที่ และพบงานวิชาการชุมชน
เข้มแข็งที่มีสมาชิกชุมชนเป็นพลังส าคัญ ท าให้ไม่สามารถสร้างองค์ความรู้จาก
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างพลังพลเมืองแบบบูรณาการพื้นที่ได้ อย่างไรก็
ตาม การสังเคราะห์องค์ความรู้จากปฏิบัติการในพื้นที่ในครั้งนี้ผู้ศึกษาใช้
กระบวนการศึกษาอย่างมีระบบ
1.5 กรอบแนวคิดในการวิเคราะห์
4