Page 15 - kpiebook62015
P. 15

2. วิเคราะห์และตีความ (analytic  /  interpretive  knowledge) องค์ความรู้เกี่ยวกับ

                        แนวคิดและหลักการ หรือองค์ความรู้ประยุกต์ใช้ (technical knowledge) ในปฏิบัติการนั้น
                                3.หาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบความรู้ที่ใช้นั้น ว่าให้ความรู้อะไรบ้าง และ

                        สังเคราะห์องค์ความรู้ ที่อาจพัฒนาให้เกิดความรู้ใหม่


                        1.6 แนวคิดและหลักการสังเคราะห์องค์ความรู้


                              การสังเคราะห์ (อังกฤษ: Synthesis) มาจากค าว่า syn-  แปลว่า ร่วม และค าว่า thesis

                        แปลว่า ปรากฏการณ์ใหม่ มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณว่า ที่มีความหมายว่า การประชุม

                              การสังเคราะห์ จึงเป็นกระบวนการบูรณาการปัจจัยและองค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นได้
                        ทั้งคน สัตว์ สิ่งของ หรือ เหตุการณ์และแนวคิด ทั้งแบบรูปธรรมและนามธรรม เข้ามาเป็น

                        องค์ประกอบร่วมเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ หรือปรากฏการณ์ใหม่ ปรากฏการณ์ใหม่หรือสิ่งใหม่อัน

                        เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์นั้นเป็นไปได้ทั้งในแบบรูปธรรมและนามธรรม ทั้งนี้ปัจจัยหรือ
                        องค์ประกอบที่เข้ามาสู่กระบวนการสังเคราะห์บางปัจจัยอาจผ่านการวิเคราะห์แยกแยะมาก่อน

                        ขณะที่บางปัจจัยยังไม่ผ่านการวิเคราะห์แยกแยะมาก่อน
                              การสังเคราะห์องค์ความรู้มีความจ าเป็นและมีเทคนิควิธีในการถอดบทเรียนความรู้

                        จัดการความรู้ และสังเคราะห์ความรู้หลากหลายรูปแบบ คือ

                                1) เรียนรู้จากเพื่อน (peer  assistant  –  PA)  มีลักษณะเป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ
                        แลกเปลี่ยนความคิดความรู้ ระหว่างเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการเรียนรู้ก่อนเริ่มงาน เพื่อหาแนวทาง

                        ใหม่ หรือแนวทางที่เป็นไปได้และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
                                2) การเรียนรู้หลังการปฏิบัติ (after action research - AAR) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น

                        ระหว่างด าเนินกิจกรรมในโครงการ ใช้ในการถอดบทเรียนเพื่อทบทวนความส าเร็จหรือล้มเหลว

                        ภายหลังปฏิบัติภารกิจ เพื่อให้ดีขึ้นต่อไปในภายหน้า เทคนิคนี้ผู้ร่วมกระบวนการต้องเปิดใจและ
                        มุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ร่วมกันมากกว่าวิพากษ์วิจารณ์เพราะมิใช่การประเมินผลการปฏิบัติงาน

                                3) การเรียนรู้หลังการด าเนินงาน (retrospect)  เป็นวิธีการที่มีรายละเอียดลึกซึ้งกว่า

                        AAR
                                4) การเรียนรู้จากบทเรียนที่ดีหรือวิธีปฏิบัติที่ดี (best practice)

                                5) แผนที่ผลลัพธ์ (outcome mapping) – การสร้างการเรียนรู้และการสะท้อนกลับใน
                        แผนงานพัฒนา เป็นวิธีที่ใช้เพื่อติดตามประเมินผลการท างานที่มาเสริมวิธีการประเมินรูป

                        แบบเดิม โดยให้ความสนใจกับการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้องในงานพัฒนา นั่นคือ การ




                                                               6
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20