Page 20 - kpiebook62015
P. 20
โครงสร้างที่มีความสัมพันธ์ในแนวดิ่งด้วยความสมานฉันท์ ซึ่งจะท าให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง (civil
community) ขึ้น
ชุมชนเข้มแข็งมีลักษณะส าคัญ ดังนี้
1. มีจิตส านึกชุมชน (community consciousness) หรือเป็นชุมชนที่มีจิต
วิญญาณ (spirituality) คือ สมาชิกส านึกว่าตนเองเป็นเจ้าของชุมชน มีความตั้งใจที่จะเข้าร่วม
รับผิดชอบปัญหาต่าง ๆ กับบุคคลอื่น ๆ อย่างเท่าเทียมกันและมิตรภาพ ยอมรับในศักยภาพของ
กันและกันและยอมรับในความแตกต่างหลากหลายระหว่างสมาชิก มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา
ของ ชุมชนร่วมกัน
2. มีจิตวิญญาณชุมชน (community spirituality) คือ สมาชิกมีความ
จงรักภักดีต่อชุมชนเสียสละท างานเพื่อชุมชน หวงแหนชุมชน มีสิ่งยึดเหนี่ยวร่วมกัน ท าให้ชุมชน
มีชีวิตจิตใจ มีจิตวิญญาณชุมชน ท าให้เกิดพลังที่ท าให้คนและชุมชนมีความสุข
3. เป็นชุมชนเรียนรู้ (community learning) คือ สมาชิกช่วยเหลือ เรียนรู้
เป็นกลุ่ม ตื่นตัว รู้ข่าวคราวในด้านต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมืองนอกชุมชน และความรู้
เกี่ยวกับชุมชนที่เป็นผลมาจากการปฏิบัติหรือประสบการณ์ที่ได้รับร่วมกัน หรือ เป็นกระบวนการ
เรียนรู้และการตัดสินใจร่วมกัน ความรู้ที่เกิดขึ้นจึงเป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกันผ่านการ
แลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดร่วมกัน เพื่อน าไปสู่การตัดสินใจในการด าเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของ
ชุมชน
4. มีองค์กรชุมชนเข้มแข็ง คือประชาชนรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่นด้วย
จิตส านึก ชุมชนและจิตวิญญาณชุมชน ผนึกก าลังกัน เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาของชุมชน ซึ่งเป็น
ผลมาจากการ เรียนรู้ร่วมกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างท า
5. มีการจัดการชุมชนที่ดี (community management) คือ สมาชิกของ
ชุมชน มีความสามารถในการจัดการตนเองและชุมชนได้ วางแผน จัดกระบวนการ ด าเนินงาน
และ ประเมินผลการพัฒนาชุมชนตนเองได้
6. มีเครือข่ายชุมชน คือ มีกระบวนการเชื่อมโยงสมาชิกในกลุ่มและองค์กร
ชุมชนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ด้วยระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและการประชาสัมพันธ์ด้วยความ
สมานฉันท์
7. มีภาวะผู้น าชุมชน (community leadership) คือ ผู้น าเป็นผู้ประสาน
ความคิดของสมาชิกให้โอกาสสมาชิกได้แสดงความคิดเห็นไม่ผูกขาดความคิดหรือเป็นเจ้าของ
ชุมชน เพียงผู้เดียว พร้อมที่จะเรียนรู้แลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นกับผู้อื่น ผนึกตัวเองเข้า
กับชุมชนได้ อย่างแนบแน่นและร่วมท าประโยชน์เพื่อชุมชน โดยสรุป ผู้น าที่ท าให้ชุมชนเข้มแข็ง
11