Page 19 - kpiebook62015
P. 19
และปฏิบัติมากขึ้นจะเกิดความเชื่อมั่น และ ความรู้สึกที่จะพึ่งตนเองสูงขึ้นบนพื้นฐานของความ
เสมอภาค มีอ านาจต่อรอง มีสิทธิ มีเสียง เพื่อน าไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable
development)
3.ความเข้าใจในวัฒนธรรมท้องถิ่น แต่ละท้องถิ่นมีขนบธรรมเนียม ประเพณี
และวัฒนธรรมของตนเอง การด าเนินกิจกรรมพัฒนาชุมชนจึงควรสอดคล้องกับวัฒนธรรมที่ดีงาม
ของประชาชนในชุมชน
คณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตภาคใต้ (2546, น.
60) กล่าวว่าชุมชนเข้มแข็งมีลักษณะที่ส าคัญ ดังนี้
1.สมาชิกของชุมชนมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนและชุมชนที่จะแก้ไข
ปัญหาและ พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง
2. สมาชิกของชุมชนพร้อมที่จะร่วมกันจัดการกับปัญหาของตนและชุมชน
3. มีกระบวนการของชุมชนที่มีการเคลื่อนไหว
4. มีกระบวนการของชุมชนที่มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องจนเป็นวิถีของ
ชุมชน ภายใต้ การสนับสนุนของผู้น าองค์กรชุมชน ในลักษณะเปิดโอกาสให้กับสมาชิกทั้งมวลเข้า
มามีส่วนร่วม โปร่งใส และพร้อมที่จะให้ตรวจสอบ
5. สมาชิกชุมชนเกิดการเรียนรู้ผ่านการเข้าร่วมในกระบวนการของชุมชน
6. มีแผนของชุมชนที่ประกอบด้วยการพัฒนาทุก ๆ ด้านของชุมชน ที่มุ่งการ
พึ่งตนเอง เอื้อประโยชน์ต่อสมาชิกชุมชนทุก ๆ คน และมุ่งหวังการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน
7. การพึ่งความช่วยเหลือจากภายนอก เป็นการพึ่งเพียงเพื่อให้ชุมชนสามารถ
พึ่งตนเองได้ในที่สุด ไม่ใช่การพึ่งพาตลอดไป
สนธยา พลศรี (2547, น. 49) กล่าวว่า การพัฒนาชุมชนเป็นกระบวนการพัฒนาคนและ
กลุ่ม คนในชุมชน ให้มีศักยภาพเพียงพอและร่วมมือกันปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองและ
ชุมชน ตามแผนและโครงการที่ก าหนดไว้ ทั้งการใช้พลังของชุมชนและการสนับสนุนจากภายนอก
ชุมชน ชุมชนเข้มแข็งคือชุมชนที่พึ่งตนเองได้และมีความสุข คนในชุมชนมีจิตส านึกร่วมกัน
รวมตัวกันในลักษณะที่เป็นหุ้นส่วนกันในการกระท าบางอย่าง ด้วยความรักและความเอื้ออาทร
ต่อกัน ภายใต้ระบบการจัดการ ให้เกิดความรู้สึกร่วมกัน เพื่อประโยชน์สาธารณะ อาจเป็นกลุ่ม
เล็กกระจัดกระจายแต่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้จนกลายเป็นองค์กร (community
organization) และเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายย่อย ๆ (community network) ท าให้เกิด
10