Page 148 - kpiebook62016
P. 148
131
บิน อาลี จะขึ้นสู่อ านาจจากการรัฐประหาร (แบบไม่เสียเลือดเนื้อ) โค่นอดีตประธานาธิบดีฮะบีบ บิน
อะลี บูรกีบะฮ์ (Habib Bourguiba) แต่หลังจากนั้นประธานาธิบดี บิน อาลีได้รับการเลือกตั้งเข้ามา
ใหม่ทุกครั้งตลอดระยะเวลา 27 ปี ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นภายใต้พรรค Democratic Constitutional
Rally ที่เปลี่ยนชื่อจากพรรค Destourian Socialist การเลือกตั้งครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม
ค.ศ. 2009
369
การปฎิวัติดอกมะลิ (the Jasmine Revolution) ซึ่งจุดประกายปรากฏการณ์ Arab Spring
ใน ค.ศ. 2010-2011 น ามาสู่การสิ้นสุดอ านาจของประธานาธิบดี บิน อาลี และเป็นจุดเริ่มต้นของการ
ปฏิรูปการเมืองและสังคมในตูนิเซีย ที่ยังคงด าเนินอยู่อย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน การเปลี่ยนผ่านประเทศ
จากระบอบพรรคการเมืองเดียวไปสู่ระบอบประชาธิปไตยในตูนิเซีย ถือว่าเป็นตัวอย่างการพัฒนา
ประชาธิปไตยของประเทศมุสลิมที่หายากยิ่งนัก เพราะเป็นประเทศเดียวในกลุ่มประเทศที่ผ่านการ
ปฏิวัติสังคมการเมืองในเหตุการณ์ “Arab Spring” ที่ยังสามารถรักษาประชาธิปไตยไว้ได้ โดยมีการ
ออกแบบสถาบันการเมืองใหม่ ร่างรัฐธรรมนูญและจัดให้มีการเลือกตั้ง ในขณะที่ประเทศมุสลิมอื่นๆ ที่
ผ่านเหตุการณ์ Arab Spring ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ประสบความล้มเหลวในการเปลี่ยนผ่านไปสู่
ประชาธิปไตย ต้องย้อนกลับไปสู่ระบอบเผด็จการรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่นที่เกิดขึ้นในประเทศอียิปต์
ซึ่งแม้อียิปต์จะไม่ได้เกิดสงครามกลางเมือง จนประเทศแทบล่มสลายดังที่เกิดขึ้นกับประเทศซีเรีย แต่ก็
ไม่อาจนับได้ว่าอียิปต์ประสบความส าเร็จในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในระดับที่เกิดขึ้นใน
ตูนิเซีย
369 Alfred Stepan และ Juan J. Linz ได้ชี้ให้เห็นถึงความส าคัญของเหตุการณ์ปฏิวัติประชาชน Arab Spring 3 ประการ คือ 1.
ความสัมพันธ์ระหว่างประชาธิปไตยกับศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของศาสนาอิสลาม 2. ระบอบลูกผสม (Hybrid regimes)
ระหว่างเผด็จการอ านาจนิยมกับประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นหลังการปฏิวัติ และ 3. แนวคิดสุลต่านนิยม (Sultanism) กับบทบาทในการ
เปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย ดู Alfred Stepan and Juan J. Linz, “Democratization Theory and the ‘Arab Spring’ ” Journal of
Democracy vol. 24 no. 2 (2009): 15-30.