Page 152 - kpiebook62016
P. 152

135







                       เลือกตั้งสภาประชาชนตูนิเซีย (Tunisian Constituent Assembly) ในวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2011 ซึ่ง
                       เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกของตูนิเซีย นับตั้งแต่ได้รับเอกราชหลังสงครามโลกครั้งที่สอง


                       การปฏิรูปรัฐธรรมนูญ


                              สาเหตุที่เชื่อกันมากว่า ประเทศตูนิเซียมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยได้

                       ส าเร็จมากที่สุดในกลุ่มประเทศที่เกิดเหตุการณ์อาหรับสปริง เนื่องจากปัจจัยในเชิงสถาบันที่เอื้อให้การ
                                                               370
                       พัฒนาประชาธิปไตยเกิดขึ้นและด าเนินต่อไปได้  กล่าวคือ หลังจากการเลือกตั้ง ค.ศ. 2011 ได้มีการ
                       แต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กระทั่งน ามาสู่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. 2014 โดย

                       รัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้ความส าคัญกับการปฏิวัติประชาชน หรือ Arab Spring เป็นอย่างมาก ดังปรากฏ

                       ในค าปรารภของรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้


                                     “Taking pride in the struggle of our people for independence, to build
                              the state, for freedom from tyranny, responding to its free will, and to achieve the
                              objectives of the revolution for freedom and dignity, the revolution of December

                              1 7 , 2010 through January 1 4 , 2011, with loyalty to the blood of our virtuous
                              martyrs,  to  the  sacrifices  of  Tunisian  men  and  women  over  the  course  of

                              generations, and breaking with injustice, inequity, and corruption.”
                                                                                    371
                              นอกจากนี้ ในค าปรารภของรัฐธรรมนูญยังมีการกล่าวถึงสิทธิมนุษยชนสากลที่ตูนิเซียจะต้อง

                       ยอมรับ ในขณะเดียวกันก็จะไม่ละทิ้งพื้นฐานอัตลักษณ์ของอิสลาม-อาหรับ และอารยธรรมมนุษย์ ใน

                       การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าตูนิเซียพยายามผสานแนวคิด “ศาสนาอิสลาม

                       และกฎหมายอิสลาม” ให้เข้ากับ “กฎกติกาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน” ภายใต้ “รัฐธรรมนูญ” ที่เป็น
                       ประชาธิปไตย เพื่อสร้างระบบการเมืองแบบสาธารณรัฐ (Republican) และประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม


                              เงื่อนไขส าคัญในการปฏิรูปรัฐธรรมนูญของตูนิเซีย คือ การสร้างกลไกที่ท าให้ทุกฝ่ายมีโอกาส

                       เข้ามามีส่วน โดยไม่กีดกันคนกลุ่มใด (Inclusiveness) เช่น บทบาทของคณะกรรมการขั้นสูงส าหรับ

                       การปกป้องการปฏิวัติ (The High Commission for the Protection of the Revolution) ที่ได้ช่วยใน



                       370  Eva Bellin, “Drivers of Democracy: Lessons from Tunisia”, Middle East Brief (Massachusetts: Crown Center of Middle
                       East Studies, Brandeis University, 2013), p. 1.
                       371  The Tunisia’s Constitution of 2014, Preamble.
   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157