Page 145 - kpiebook62016
P. 145
128
มีความพยายามในการปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และการด าเนินคดีกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน
362
ที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลทหาร
3. สื่อมวลชน
การปฏิบัติงานของสื่อมวลชนอาร์เจนตินาในปัจจุบันก าลังประสบกับความยากล าบากต่อท่าที
ที่เป็นปรปักษ์ของรัฐบาล ที่ไม่ยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์ของสื่อมวลชน โดยมีการใช้กฎหมายต่อต้าน
การก่อการร้ายในการด าเนินคดีกับผู้สื่อข่าวที่รายงานการประท้วงต่อต้านต ารวจ ด้วยข้อหาเผยแพร่
ข้อมูลที่สร้างความตื่นตระหนกให้แก่สังคม และแม้จะมีการถอนฟ้องข้อหาดังกล่าว ก็ได้มีการฟ้องร้อง
ด้วยข้อหายุยงปลุกปั่นให้เกิดความไม่สงบแทน นอกจากนี้ ยังมีการใช้อ านาจของหน่วยงานภาครัฐ
ได้แก่ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (Federal Communications Services Authority) และ
คณะกรรมการเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและการโทรคมนาคม (Federal Authority for Information
Technology and Communications) ในการกีดกันกลุ่มสื่อที่โจมตีรัฐบาลของประธานาธิบดีคริสตินา
เฟอร์นันเดส เคิร์ชเนอร์ ด้วยการกีดกันการออกใบอนุญาตการด าเนินกิจการ และจะออกใบอนุญาตให้
363
เฉพาะส านักข่าวของรัฐบาลและส านักข่าวที่สนับสนุนรัฐบาล
จากรายงานใน ค.ศ. 2016 องค์กร Freedom House ได้จัดระดับเสรีภาพของสื่อมวลชนของ
อาร์เจนตินาไว้ที่ระดับ “มีข้อจ ากัดในเสรีภาพอยู่บ้าง” (partly free) ด้วยคะแนน 50 จาก 100
364
คะแนน ขณะที่การรายงานขององค์กร Reporters Without Borders ประเทศอาร์เจนตินาได้รับการ
จัดอันดับความมีเสรีภาพของสื่ออยู่ในระดับ “มีปัญหา” (problematic) ในอันดับที่ 54 ด้วยคะแนนการ
ละเมิดเสรีภาพของสื่อ 25.09 คะแนน พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงความห่วงกังวลเกี่ยวกับกฎหมายสื่อมวลชน
365
ฉบับใหม่ที่เอื้อให้ธุรกิจสื่อสารมวลชนกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มทุนเพียงน้อยราย
362 James Petras and Henry Veltmeyer, Social Movements and State Power (London: Pluto Press, 2005), pp.30 – 31.
363 Freedom House, Freedom of the Press 2016: Argentina [online], February 19, 2017, Available from
https://freedomhouse.org/report/freedom-press/2016/argentina.
364
Ibid.
365 Reporters without Borders, Argentina [online], February 19, 2017, Available from https://rsf.org/en/argentina