Page 154 - kpiebook62016
P. 154

137







                       electoral districts, MMD) แต่ละเขตอาจมีตัวแทนระหว่าง 4-10 ที่นั่ง ตามจ านวนประชากรในเขต
                       เลือกตั้งนั้นๆ


                              2. รูปแบบรัฐบาลและความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ:

                       ระบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา และระบบสภาเดียว

                              ตูนิเซียเป็นรัฐเดี่ยว อยู่ในรูปแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตยที่มีการปกครองระบอบ

                       ประชาธิปไตยแบบตัวแทน (Representative democracy) ภายใต้ระบบการเมืองแบบกึ่ง

                       ประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา (Semi-presidential system) โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ (Head

                       of state) และมีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขฝ่ายบริหาร (Head of government)

                              ในด้านฝ่ายนิติบัญญัติ ตูนิเซียเคยใช้รูปแบบรัฐสภาแบบสภาคู่ (Bicameralism) ในช่วงก่อน

                       การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใน ค.ศ. 2011 โดยสภาล่างเรียกว่า The Chamber of Deputies

                       of Tunisia (Majlis al-Nuwaab) มีจ านวนสมาชิกทั้งสิ้น 214 คน มาจากการเลือกตั้งของประชาชน มี

                       วาระในการด ารงต าแหน่ง 5 ปี โดยมีข้อก าหนดว่าร้อยละ 25 ของสภาล่างให้เป็นของฝ่ายค้าน ส่วน

                       สภาสูงเรียกว่า The Chamber of Advisors มีจ านวนสมาชิกทั้งหมด 112 คน มาจากผู้ว่าในแต่ละ
                       จังหวัด ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ และผู้มีบทบาทน าในระดับชาติ โดย 41 ที่นั่งมาจากการแต่งตั้ง

                       ของประธานาธิบดี และอีก 71 ที่นั่ง มาจากการคัดสรรของคณะกรรมการชุดต่างๆ ในปัจจุบัน ฝ่ายนิติ

                       บัญญัติของตูนิเซียอยู่ในรูปแบบสภาเดียว (Unicameralism) คือสภาผู้แทนราษฎร หรือที่เรียกว่า The

                       Assembly of the Representatives of the People มีจ านวนสมาชิกทั้งหมด 217 คน โดยการเลือกตั้ง

                                                                                          375
                       หลังจากการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญใหม่ เกิดขึ้นในวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2014
                              ในส่วนของฝ่ายตุลาการและกฎหมาย ตูนิเซียใช้ระบบกฎหมายแบบมีประมวลกฎหมาย (civil

                       law) ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากรูปแบบของระบบกฎหมายในภาคพื้นยุโรป และน ามาผสมผสานกับ

                       กฎหมายอิสลาม (Sharia Law) โดยยึดหลักให้ผู้พิพากษาและตุลาการมีความเป็นอิสระ แม้ว่าในสภา

                       ของตุลาการจะมีประธานาธิบดีร่วมนั่งอยู่ด้วยก็ตาม


                              นอกจากนี้ ในหมวดที่ 7 ของรัฐธรรมนูญตูนิเซียได้กล่าวถึงการกระจายอ านาจ (Decentralization)
                       ผ่านการมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งในระดับเทศบาล (Municipality) เขต (District) และมณฑล



                       375  The Tunisia’s Constitution of 2014, Article 56.
   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159