Page 158 - kpiebook62016
P. 158
141
4. กติกาเกี่ยวกับพรรคการเมือง
หลังจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีการจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นจ านวนมากกว่า
100 พรรค ตั้งแต่พรรคศาสนาอิสลาม จนไปถึงพรรคคอมมิวนิสต์ มีการก าหนดกติกาในการให้เงิน
สนับสนุนทางการเมืองและการหาเสียงทางการเมืองใหม่ ให้สามารถแข่งขันกันได้อย่างเสรี ตูนิเซีย
พยายามอย่างมากที่จะไม่เดินตามความผิดผลาดในอดีต ที่มีการยุบพรรคการเมืองหรือการห้ามไม่ให้
385
บางพรรคการเมืองลงแข่งขันในการเลือกตั้ง ซึ่งท้ายที่สุดน าไปสู่ความขัดแย้งและความรุนแรงทาง
การเมือง จึงปรากฏอย่างชัดเจนว่ารัฐธรรมนูญตูนิเซีย เปิดโอกาสและจัดช่องทางให้ทุกกลุ่มทุกฝ่ายเข้า
มาแข่งขันในกติกาเดียวกัน แทนที่จะจัดการกับบางกลุ่มด้วยวิธีการนอกรัฐธรรมนูญ
ในการเลือกตั้งครั้งแรก ได้มีการจัดการเลือกตั้งอย่างเสรีและเป็นธรรมส าหรับการแข่งขันของทุก
พรรคการเมือง และพยายามที่จะปฏิเสธการเข้ามาครองอ านาจของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง
เพราะอาจน าไปสู่เผด็จการที่มาจากการเลือกตั้งได้ ด้วยเหตุนี้ตูนิเซียจึงได้พยายามให้มีการลงคะแนน
เสียงที่กระจายไปตามพรรคการเมืองต่างๆ อย่างไรก็ดี ได้เกิดการรวมตัวกันของพรรคการเมือง 3 พรรค
ในชื่อ “Troika” ซึ่งเป็นพันธมิตรระหว่างพรรคอิสลาม เช่น พรรค Ennahda Movement และพรรค
การเมืองที่ไม่ได้ยึดหลักศาสนา เช่น พรรค Democratic Forum for Labour และ Liberties Congress
for the Republic ในการลงแข่งขันเลือกตั้งเพื่อเข้ามาเป็นรัฐบาลในการเลือกตั้ง ค.ศ. 2011
ตารางที่ 5.1 ผลเลือกตั้งสภาประชาชนตูนิเซีย ค.ศ. 2011
217 ที่นั่งในรัฐสภา ต้องการ 109 ที่นั่งเพื่อเป็นเสียงข้างมาก
รายชื่อผู้ลงสมัคร Rashid al- Moncef Mohamed Hechmi Mustapha Ben Maya Jribi
Ghannushi Marzouki Hamdi Aridha Jafar Ettakatol
พรรคการเมือง Ennahda CPR Aridha Ettakatol PDP
จ านวนที่นั่งที่ได้รับ 89 29 26 20 16
คะแนนเสียงที่ได้รับ 1,501,320 353,041 273,362 284,989 159,826
ร้อยละของคะแนน 37.04 8.71 6.74 7.03 3.94
อัตราส่วนผู้มาใช้สิทธิ ร้อยละ 51.97
ที่มา: Wikipedia, Tunisian Constitution Assembly election, 2011 [online], February 28, 2017,
Available from https://en.wikipedia.org/wiki/Tunisian_Constituent_Assembly_election,_2011.
385 Eva Bellin, op. cit., p. 3.