Page 156 - kpiebook62016
P. 156
139
380
ยุติธรรมปกติ และศาลพิเศษ เช่น ศาลปกครอง (ดูแลเรื่องคดีทางปกครอง ) และศาลการเงิน (ดูแล
381
เรื่องหลักกฎหมายในการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส ) เป็นต้น การท างานของ
ศาลจะต้องมีการรายงานให้กับประธานาธิบดีและรัฐสภาทราบเป็นรายปี นอกจากนี้ยังมีศาล
รัฐธรรมนูญท าหน้าที่วินิจฉัยว่ากฎหมายหรือการบริหารใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
พลวัตความสัมพันธ์ของอ านาจทั้ง 3 ฝ่าย อาจดูได้จากหมวดที่ 8 แห่งรัฐธรรมนูญตูนิเซียที่
กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ว่าประธานาธิบดี หรือ 1 ใน 3 ของสมาชิกรัฐสภามีสิทธิในการยื่นเสนอ
แก้ไขรัฐธรรมนูญ ประธานรัฐสภาจะเป็นผู้รับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญและส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็น
ผู้พิจารณาว่าไม่มีข้อความที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ และด าเนินการโดยชอบตามขั้นตอนที่ก าหนด
ไว้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องอาศัยเสียงข้างมากเด็ดขาดในรัฐสภา (Absolute majority) ส าหรับการ
เห็นชอบส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณา และได้รับเสียง 2 ใน 3 จากรัฐสภา
ส าหรับการลงมติรับรองร่างฉบับแก้ไขรัฐธรรมนูญขั้นสุดท้าย เมื่อผ่านขั้นตอนดังกล่าวแล้ว
ประธานาธิบดีอาจน าไปประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญใหม่โดยทันที หรืออาจน าไปจัดให้มีการลง
ประชามติทั่วไปเพื่อให้ประชาชนตัดสินใจรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญก็ได้ โดยหากมีการท าประชามติ
ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจะผ่านต่อเมื่อได้รับคะแนนประชามติเห็นชอบเป็นเสียงข้างมากเด็ดขาด
382
3. กลไกคัดง้างเสียงข้างมาก
กลไกคัดง้างเสียงข้างมากที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญตูนิเซีย คือ สภาที่ประชุมศาลสูงสุด (The
Supreme Judicial Council) ประกอบไปด้วย 4 องค์กรส าคัญ คือ
383
1) ที่ประชุมศาลยุติธรรม (the Judiciary Council)
2) ที่ประชุมศาลปกครอง (the Administrative Judicial Council)
3) ที่ประชุมศาลงบประมาณ (the Financial Judicial Council)
4) สภาของที่ประชุมศาลทั้งสาม (the General Assembly of the three judicial councils)
380 The Tunisia’s Constitution of 2014, Article 116.
381 The Tunisia’s Constitution of 2014, Article 117.
382
The Tunisia’s Constitution of 2014, Article 143-144.
383 The Tunisia’s Constitution of 2014, Article 112.