Page 179 - kpiebook62016
P. 179

162







                       จะต้องอาศัยการประสานงานระหว่างรัฐบาลสหพันธรัฐ และรัฐบาลมลรัฐ จนคณะรัฐมนตรีมีลักษณะ
                       เป็น “คณะกรรมการบริหารสหพันธรัฐ” (Federal Executive Committee)  407


                              ในส่วนของศาล ผู้ใช้อ านาจฝ่ายตุลาการของไนจีเรีย ประกอบไปด้วย 3 ส่วนส าคัญ คือ ศาล

                       สูงแห่งสหพันธรัฐ ศาลระดับมลรัฐ และคณะกรรมการการเลือกตั้ง แต่ในระดับมลรัฐมีการก าหนดให้มี

                       ศาลศาสนาอิสลาม (Shari’ah Court) และศาลที่ตัดสินตามกฎหมายจารีตประเพณี (Customary
                       Court) ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากการใช้กฎหมายของไนจีเรียมีทั้งรัฐธรรมนูญ กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์

                       อักษร กฎหมายอิสลาม และกฎหมายจารีตประเพณี


                              3. กลไกคัดง้างเสียงข้างมาก


                              กลไกคัดง้างเสียงข้างมากที่ส าคัญของไนจีเรีย มีทั้งจากฝ่ายตุลาการ และองค์กรอิสระ แต่

                       ระบบตรวจสอบของไนจีเรียยังคงถูกตั้งค าถามจากสังคมการเมืองและนักกิจกรรมภายในประเทศ
                       โดยเฉพาะบทบาทของศาลในประเทศไนจีเรีย นับว่าเป็นองค์กรที่ถูกวิจารณ์อย่างมาก เช่น เมื่อ ค.ศ.

                       2005 รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของไนจีเรีย Muhammadu Uwais ถูกกล่าวหาว่าได้รับสินบนใต้โต๊ะ

                       เพื่อไม่ให้ศาลด าเนินคดีในกรณีขัดแย้งระหว่าง Globe Mortors และ Honda Place นอกจากนี้ยังมี

                       กรณีที่ศาลสูงไนจีเรียลงมาตรวจสอบการเลือกตั้งประธานาธิบดีใน ค.ศ. 2003 โดยนาย Gani
                       Fawehinmi นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมการเมือง ได้เรียกร้องให้ด าเนินการ

                       ตรวจสอบการกระท าดังกล่าว แต่กลับเกิดกรณีโจรบุกเข้ามาในกระทรวงยุติธรรมและขโมยเอกสาร

                                          408
                       ส าคัญหลายชิ้นออกไป

                              นอกจากนี้ ในสมัยประธานาธิบดี Obasanjo ไนจีเรียได้จัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อท าหน้าที่

                       ปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น เช่น “คณะกรรมการอิสระเพื่อการตรวจการคอรัปชั่น” (the independent
                       Corrupt Practices Commission, ICPC) และ “คณะกรรมการตรวจสอบอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ

                       และการเงิน” (the Economic and Financial Crimes Commission, EFCC) แต่ผลสุดท้ายองค์กร

                       ดังกล่าวกลับถูกแทรกแซงทางการเมือง ท าให้การตรวจสอบเกิดขึ้นกับฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามรัฐบาล





                       407  Ibid., p. 20.
                       408
                         Sani Musa, The Nigerian Political Economy in Transition (FRIEDRICH EBERT STIFTUNG, 2006), p. 3 [online], January
                       27, 2017, Available from http://library.fes.de/pdf-files/iez/03522.pdf.
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184