Page 18 - kpiebook62016
P. 18

1






                                          บทน า: ความเป็นสากลของประชาธิปไตย


                       เกิดอะไรขึ้นบนเส้นทางสู่ประชาธิปไตย และการศึกษาเรื่องประชาธิปไตยที่ผ่านมา


                              ประชาธิปไตยแผ่ขยายกินปริมณฑลทางการเมืองมากที่สุดใน ค.ศ. 2006 ที่ประมาณร้อยละ
                       62 ของประเทศทั่วโลก อ้างว่าตนเองปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย เพียงแต่ห้าปีต่อมากลับพบว่า

                       ตัวชี้วัดความเป็นประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการเลือกตั้ง (Electoral  rights) อย่างเสรี ความ

                       โปร่งใส (Transparency) หลักนิติรัฐ (Rule  of  Law) และเสรีภาพของพลเมือง (Civil  liberties) เริ่ม

                       ลดลงอย่างต่อเนื่อง หากนับจ านวนการขยายตัวของประชาธิปไตยเทียบเคียงกับการล่มสลายของ

                       ประชาธิปไตยตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 ใน ค.ศ. 1999 แล้ว จะพบว่ามีถึงประมาณ 26 ประเทศที่ถูก
                       จัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่ประชาธิปไตยถดถอย ที่ส าคัญหลายประเทศเป็นประเทศขนาดใหญ่และมี

                       ความส าคัญในเชิงยุทธศาสตร์ เช่น รัสเซีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ไนจีเรีย เคนยา รวมถึงประเทศไทย

                       โดยนักวิชาการต่างประเทศเรียกขานปรากฏการณ์ล่มสลายของประชาธิปไตยด้วยชื่อแตกต่างกัน เช่น

                       ประชาธิปไตยถดถอย (Democracy  in  Retreat)  ประชาธิปไตยย้อนกลับ  (Democracy  Rollback)
                       ประชาธิปไตยผุกร่อน (Democratic Recession) หรือประชาธิปไตยที่หายใจไม่ออก (Suffocation of

                       Democracy) เป็นต้น


                              ประเด็นการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย (Democratic  transition) และการตั้งมั่นจรรโลง

                       ประชาธิปไตย (Democratic consolidation) อยู่ในความสนใจทั้งในแวดวงวิชาการและบทสนทนาใน

                       สังคมไทยอย่างต่อเนื่อง ดังปรากฏในการศึกษาจ านวนมาก เช่น งานของมนตรี เจนวิทย์การ “ระบอบ
                                                                                                            1
                       ประชาธิปไตยไทยจะไปทางไหน: อนาคตประชาธิปไตยเสรีนิยมท่ามกลางกระแสครอบง าของอ านาจนิยม”
                                                                                 2
                       งานของกนก วงษ์ตระหง่าน “การเมืองในระบอบประชาธิปไตยไทย”  หนังสือโดยสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
                                                             3
                       “สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย”  รวมบทความของสถาบันพระปกเกล้า “ดุลอ านาจใน
                                              4
                       การเมืองการปกครองไทย”  การสัมมนา “การเมืองการปกครองไทย 2555: 80 ปี ประชาธิปไตยไทย



                       1  มนตรี เจนวิทย์การ, “ระบอบประชาธิปไตยไทยจะไปทางไหน: อนาคตประชาธิปไตยเสรีนิยมท่ามกลางกระแสครอบง าของอ านาจนิยม”
                       [ออนไลน์], 27 พฤศจิกายน 2558, แหล่งที่มา http://kpi.ac.th/media/pdf/M7_200.pdf.
                       2  กนก วงษ์ตระหง่าน, การเมืองในระบอบประชาธิปไตยไทย (ฉบับปรับปรุง) (กรุงเทพฯ: ส านักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528).
                       3
                        สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ: พี.เพรส, 2551).
                       4  สถาบันพระปกเกล้า, ดุลอ านาจในการเมืองการปกครองไทย (กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2558).
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23