Page 22 - kpiebook62016
P. 22

5







                       apportionment)  และการปรับเปลี่ยนระบบตรวจสอบ ถ่วงดุลระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่าย
                       ตุลาการ และองค์กรอิสระในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ที่ผ่านประชามติในวันที่ 7  สิงหาคม พ.ศ. 2559

                       ล้วนเป็นภาพสะท้อนของการดิ้นรนหาดุลยภาพในการออกแบบสถาบันการเมือง ทั้งนี้ เพราะตระหนักดี

                       ว่าเสถียรภาพทางการเมืองและการตั้งมั่นและจรรโลงประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากขาดวิศวกรรม

                       ทางการเมืองในการออกแบบรัฐธรรมนูญ (Constitutional engineering) ที่เหมาะสมกับสังคมไทย

                       วัตถุประสงค์ของการศึกษา


                              การศึกษาชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เบื้องต้น 2 ประการคือ


                              1. เพื่อหาข้อสรุปที่เป็นเงื่อนไข ปัจจัย อิทธิพลที่ส่งผลต่อความส าเร็จ และความล้มเหลวต่อ

                       การสร้างประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง และการจรรโลงประชาธิปไตยไม่ให้ไหลย้อนกลับสู่ระบอบอ านาจนิยม

                       โดยสังเคราะห์จากประสบการณ์การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยของหลายประเทศในโลก ในช่วง
                       เวลาและพื้นที่ต่างๆ กัน ด้วยวิธีศึกษาแบบการเมืองเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ


                              2. เพื่อเสนอแนวทางสร้างระบอบประชาธิปไตยที่ตั้งมั่นของไทย โดยเน้นข้อเสนอที่เกี่ยวข้อง

                       กับปัจจัยเชิงสถาบันการเมือง เพื่อการจัดวางและพัฒนาสถาบันการเมืองที่เหมาะสมกับสังคมไทย


                       วิธีการศึกษา

                              วิธีการศึกษาเปรียบเทียบที่ใช้ในการศึกษาชิ้นนี้  เป็นการเปรียบเทียบประเทศจ านวนไม่มาก

                       (Small-N) โดยมีเป้าหมายต้องการเปรียบเทียบประเทศที่มีกระบวนเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย

                       ในช่วงคลื่นลูกที่ 3 กล่าวคือเกิดขึ้นภายหลัง ค.ศ. 1974 ถึงปัจจุบัน โดยในขณะที่ศึกษาต้องยังไม่ออก

                       จากประชาธิปไตย หรือย้อนกลับไปใช้ระบอบการปกครองเดิมก่อนการเปลี่ยนผ่าน เมื่อศึกษาประเทศ

                       ต่างๆ โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นหลักฐาน (Empirical  evidences)  ซึ่งเป็นจุดแข็งของการศึกษา
                       เปรียบเทียบที่ใช้กรณีศึกษาจ านวนไม่มากเช่นนี้ พบว่า ประเทศจ านวนมากในคลื่นลูกที่ 3 ยังดิ้นรนใน

                       กระบวนการเปลี่ยนผ่าน และยังไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นประชาธิปไตยที่ตั้งมั่นได้ เนื่องจากนอกพื้นที่ทวีป

                       อเมริกาเหนือ ยุโรปตะวันตก และออสเตรเลียแล้ว ประเทศที่ได้รับการจัดให้เป็นประชาธิปไตยที่มั่นคง

                       แล้วมีน้อยมาก โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกาใต้
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27