Page 20 - kpiebook62016
P. 20

3






                                                               13
                       ของไชยวัฒน์ ค ้าชู เรื่อง “ญี่ปุ่น 1988-1998”  และ “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: กระบวนการเป็น
                                                                                                            14
                       ประชาธิปไตยและการเมืองสมัยใหม่” ซึ่งมีอุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ และพรพิมล ตรีโชติ เป็นบรรณาธิการ
                       เป็นต้น ที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเป็นงานวิชาการที่ทรงคุณค่า แต่ส่วนใหญ่ตีพิมพ์เผยแพร่มาหลายปีแล้ว

                       ขณะที่มีปัจจัยใหม่ๆ ซึ่งส่งผลต่อระบอบประชาธิปไตยในโลกปัจจุบันเกิดขึ้นตลอดเวลา กล่าวได้ว่า ใน

                       แวดวงการศึกษารัฐศาสตร์ไทยในช่วงสามถึงห้าปีนี้ ยังไม่ได้มีการศึกษางานของนักวิชาการต่างประเทศ
                       ซึ่งน าเสนอมุมมองใหม่ที่แสดงมิติและพลวัตของประชาธิปไตยสมัยใหม่อย่างลึกซึ้ง สร้างข้อถกเถียงใน

                       วงกว้าง และเผยแพร่ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ที่ส าคัญยังไม่มีการศึกษาปัจจัยหรืออิทธิพลที่

                       ส่งผลต่อความส าเร็จ หรือความล้มเหลวของเส้นทางเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยอย่างเป็นระบบ


                              เป็นที่ยอมรับว่า แม้ประชาธิปไตยจะไม่ใช่ระบอบการปกครองที่ดีที่สุด แต่เป็นระบอบที่ชอบธรรม

                           15
                       ที่สุด  อย่างน้อยระบอบประชาธิปไตยได้พิสูจน์อย่างยาวนานว่าเป็นการปกครองที่เอื้อต่อการ
                                                                                                       16
                       แก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองได้อย่างเหมาะสม และใช้ความรุนแรงน้อยกว่าระบอบอื่น  ด้วย
                       เหตุนี้งานวิชาการจ านวนมากในต่างประเทศจึงทุ่มเทศึกษาหาปัจจัยและตัวแปรเปรียบเทียบที่ท าให้

                       การตั้งมั่นและจรรโลงประชาธิปไตยในบางประเทศประสบความส าเร็จ ขณะที่ความพยายามตั้งมั่น

                       และจรรโลงประชาธิปไตยในบางประเทศมีสภาพไม่ต่างไปจากการพายเรือในอ่าง เพราะผ่านความ

                       พยายามและความล้มเหลวซ ้าแล้วซ ้าเล่า

                              ปรากฏการณ์ “ตุ๊กตาล้มลุก” หรือการตกอยู่ในกับดักของระบอบลูกผสม ที่เรียกขานใน

                       ภาษาอังกฤษว่า Hybrid  Regimes  ดังปรากฏให้เห็นในความล้มเหลวของการเปลี่ยนผ่านที่ไม่อาจ

                       ขับเคลื่อนไปสู่ประชาธิปไตยได้ สะท้อนข้อเท็จจริงว่า กระบวนการท าให้เป็นประชาธิปไตยและการ

                                                                                       17
                       จรรโลงประชาธิปไตยไม่ได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ หรือมีลักษณะเป็นเส้นตรง  ที่เหมือนกันหมดในทุก
                       ประเทศ เงื่อนไขในแต่ละสังคม อิทธิพลจากต่างประเทศ ช่วงเวลา และการออกแบบสถาบันการเมือง





                       13  ไชยวัฒน์ ค ้าชู, ญี่ปุ่น 1988-1998 (กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ม.ป.ป.).

                       14  อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ และพรพิมล ตรีโชติ (บรรณาธิการ), เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: กระบวนการเป็นประชาธิปไตยและการเมือง
                       สมัยใหม่, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา, 2547).
                       15  Larry Diamond, The Next Democratic Century [online], November 13, 2015, Available from http://iis-
                       db.stanford.edu/pubs/24554/LD_Current_History_Jan_14.pdf.
                       16
                         Jean Grugel, Democratization: A Critical Introduction (New York: Palgrave, 2002), p. 7.
                       17  Geoffrey Pridham, The dynamics of Democratization: A comparative approach (London: Continuum, 2000), p. 17.
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25