Page 21 - kpiebook62016
P. 21

4







                       ล้วนส่งผลต่อความส าเร็จและความล้มเหลวในการตั้งมั่นและการจรรโลงประชาธิปไตย การศึกษา
                       บทเรียนจากทั้งประเทศที่ประสบความส าเร็จ และประเทศที่ยังดิ้นรนเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย

                       จึงเป็นบทเรียนที่มีคุณค่าน่าศึกษา เพื่อการแสวงหาข้อเสนอต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศ

                       ไทยที่เป็นระบบ ปราศจากอคติ เป็นรูปธรรมที่สามารถน าไปปฏิบัติได้จริง


                              การศึกษาชิ้นนี้ ให้ความส าคัญกับประเด็นสถาบันการเมืองเป็นพิเศษ วรรณกรรมรัฐศาสตร์
                       ตะวันตกจ านวนมากกล่าวถึงบทบาทของการจัดวางสถาบันการเมืองในการช่วยพัฒนาประชาธิปไตย

                       อย่างยั่งยืนในเชิงคุณภาพได้ ส าหรับประเทศไทย ข้อถกเถียงเรื่องสถาบันการเมืองของไทยเด่นชัดและ

                       แหลมคมมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่

                                                                                                            18
                       พิมพ์เขียวมุ่งหวังให้รัฐบาลเข้มแข็ง ฝ่ายค้านตรวจสอบได้ยาก และเอื้อพรรคการเมืองขนาดใหญ่
                       ขณะที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ปรับแก้กติกาให้รัฐบาลถูกตรวจสอบได้ง่าย
                       ขึ้น เปลี่ยนระบบเลือกตั้งเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของพรรคขนาดกลางและขนาดเล็ก เสริม

                       มาตรการก ากับพรรคการเมืองและนักการเมือง และให้อ านาจองค์กรอิสระและศาลในการตรวจสอบ

                                       19
                       รัฐบาลอย่างเข้มข้น  แต่กระนั้น กลไกที่สร้างขึ้นมาเหล่านี้ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาระบบการเมืองไทย
                       ได้จริง ความพยายามปรุงแต่งนวัตกรรมใหม่ๆ ในการร่างรัฐธรรมนูญจากคณะกรรมาธิการยกร่าง
                                           20
                       รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2558  ไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง ระบบเลือกตั้งแบบ
                              21
                       เยอรมนี  การมีสมัชชาพลเมือง การสรรหาวุฒิสมาชิก การลด-เพิ่มขอบเขตอ านาจของคณะกรรมการ
                       การเลือกตั้ง การยุบหรือไม่ยุบรวมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับผู้ตรวจการแผ่นดิน และ

                          22
                       อื่นๆ  รวมทั้งการออกแบบระบบเลือกตั้งใหม่ที่เรียกว่า “ระบบจัดสรรปันส่วนผสม”  (Mixed-member


                       18  Siripan Nogsuan Sawasdee, Thai Political Parties  in the Age of Reform (Bangkok: Institute of Public Policy Studies,
                       2006).
                       19  Siripan Nogsuan Sawasdee, Politics of Electoral Reform in Thailand (Ph.D. Dissertation Kyoto University, 2015).
                       20  คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ, “ระบบการเมือง นักการเมืองและสถาบันการเมือง,” จุลสารรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูป ปีที่ 1 ฉบับที่

                       2 (ปักษ์หลัง มกราคม 2558).
                       21  ประชาชาติธุรกิจ, “ดร.ปริญญา ชี้ ประชาชนเลือกนายกฯ เอง ดีกว่าให้ ส.ส.เลือกนายกฯแน่นอน” [ออนไลน์], 29 พฤศจิกายน 2558,
                       แหล่งที่มา http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1308473556 และข่าวสด, “สัมภาษณ์พิเศษ: ปริญญา เทวา
                       นฤมิตรกุล แจงปมเลือกตั้งเยอรมัน” [ออนไลน์], 29 พฤศจิกายน 2558, แหล่งที่มา
                       www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRReU9ETTVOREF4TkE9PQ==.
                       22
                         บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนา (ครั้งที่ 2 ), “การปฏิรูปประเทศไทย:การเข้าสู่อ านาจของสมาชิกรัฐสภา” ณ ห้อง
                       พินิตประชานาถ ศาลาว่าการกลาโหม ถนนสนามไชย 24 กรกฎาคม 2558.
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26