Page 23 - kpiebook62016
P. 23

6







                              ประเทศที่เลือกศึกษา 8 ประเทศ กระจายอยู่ใน 4 ทวีป ได้แก่ เกาหลีใต้และอินโดนีเซีย (ทวีป
                       เอเชีย) ชิลีและอาร์เจนตินา (ทวีปอเมริกาใต้) ตูนีเซียและไนจีเรีย (ทวีปแอฟริกา) ยูแครนและโปแลนด์

                       (ยุโรปตะวันออก)  ทั้ง 8 ประเทศ มีคุณสมบัติและระดับของการเป็นประชาธิปไตยแตกต่างกัน ตาม

                       เกณฑ์ตัวชี้วัดระดับประชาธิปไตย (Democracy  index) 6 ประเทศที่เลือกศึกษาอยู่ในกลุ่มที่มีระดับ

                       การเป็นประชาธิปไตยค่อนข้างสูงหรือตั้งมั่นแล้ว  และระดับประชาธิปไตยปานกลาง เพื่อตอบ
                       วัตถุประสงค์หลักในการหาปัจจัยร่วมที่ส่งผลต่อความส าเร็จในการเปลี่ยนผ่าน ส่วนอีก 2 ประเทศ

                       ในขณะศึกษามีระดับการเป็นประชาธิปไตยปานกลางค่อนข้างถดถอย และระดับประชาธิปไตยต ่า

                       เพื่อใช้เป็นกรณีเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น ว่าเงื่อนไขใดบ้างที่ส่งผลต่อความแตกต่างใน

                       ความส าเร็จและความล้มเหลวของกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย แต่ละประเทศมี
                       ประสบการณ์และประวัติศาสตร์แตกต่างกันมากมาย ตั้งแต่เคยตกเป็นเมืองขึ้นภายใต้อาณานิคม

                       ตะวันตก เคยปกครองด้วยระบอบอ านาจนิยมพรรคเดียว เคยตกอยู่ภายใต้การครอบง าของทหาร หรือ

                       เคยปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ ด้วยเหตุนี้การท าความเข้าใจ การเปลี่ยนแปลงภายใต้คลื่นลูกที่

                       สาม จึงไม่อาจท าได้โดยผิวเผิน หากแต่ต้องเข้าใจความเป็นมา เงื่อนไขเฉพาะตัวของแต่ละประเทศ

                       ด้วยใจที่เปิดกว้าง และวิธีคิดที่เป็นระบบ


                              เหตุผลส าคัญที่เลือกประเทศดังกล่าวข้างต้นเพื่อศึกษาเปรียบเทียบ เนื่องจากผู้เขียนเห็นว่า
                       ประเทศที่เลือกล้วนมีคุณลักษณะเด่นที่สามารถสร้างค าอธิบายให้เกิดความเข้าใจต่อปรากฏการณ์การ

                       เปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในวงกว้าง (Generalization) ให้เกิดบทสนทนาที่ช่วยต่อยอดองค์ความรู้

                       ในประเด็นที่ศึกษาได้เต็มที่ทั่วโลก ไม่จ ากัดอยู่แต่เพียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศตนเอง และมี
                       ลักษณะเป็น Critical case  กล่าวคือ ช่วยจุดประเด็นสมมติฐาน สร้างข้อถกเถียงเพื่อน าไปสู่ค าตอบ
                                              23
                       ที่หนักแน่นต่อโจทย์วิจัยที่ตั้งไว้  พูดให้ชัด เหตุผลที่เลือกยูเครนเพราะเป็น 1  ใน 15 ประเทศที่เคยเป็น

                       ส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต การศึกษายูเครนช่วยฉายภาพการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยของอดีต

                       ประเทศคอมมิวนิสต์ที่มีเงื่อนไข ปัจจัย สภาพแวดล้อม ต่างไปจากอดีตรัฐคอมมิวนิสต์ที่ไม่ได้ใกล้ชิด

                       กับสหภาพโซเวียตมากนักอย่างโปแลนด์ ส่วนไนจีเรีย เป็นประเทศที่มีระดับประชาธิปไตยต ่าที่สุดใน
                       บรรดาประเทศที่ศึกษา และต ่ากว่าหลายประเทศในทวีปแอฟริกาใต้ เช่น นามิเบีย กาน่า เซเนกัล และ

                       บอตสวาน่า แต่ไนจีเรียเป็นกรณีศึกษาที่ดีของประเทศที่มีทั้งความท้าทายทางชาติพันธุ์ ศาสนา และ


                       23
                         โปรดดู Bent Flyvbjerg, "Five Misunderstandings About Case-Study Research," Qualitative Inquiry  vol. 12, no. 2 (April
                       2006): 219-245, DOI: 10.1177/1077800405284363.
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28