Page 199 - kpiebook62016
P. 199
182
1) กลุ่มที่สนับสนุนยุโรป เช่น พรรค Petro Poroshenko Bloc พรรค People's Movement of
Ukraine พรรค UDAR (Ukrainian Democratic Alliance for Reforms) และ พรรค Radical
Party, Fatherland เป็นต้น
2) กลุ่มที่สนับสนุนรัสเซีย เช่น พรรค Opposition Bloc พรรค Party of Regions พรรค Our
Land เป็นต้น
3) กลุ่มที่เป็นกลางและสามารถเจรจาเปลี่ยนฝั่งได้ เช่น พรรค Solidarity พรรค Socialist Party
of Ukraine พรรค Party of Greens of Ukraine พรรค Social Democratic Party of Ukraine
(United) Community และพรรค Liberal Party of Ukraine
บทบาทของสถาบันและตัวแสดงทางการเมือง
หากพิจารณาสถาบันทางการเมืองภายใต้กรอบสถาบันนิยมใหม่ (New institutionalism) จะ
พบว่ามีสถาบันทางการเมืองที่ไม่เป็นทางการเกิดขึ้นในยูเครน
ภาคประชาชนในยูเครนแสดงบทบาทส าคัญในการเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อการพัฒนา
ประชาธิปไตย ภายใต้ความขัดแย้งของการเมืองภายในประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับ
ยุโรปและรัสเซีย สองปรากฏการณ์ส าคัญที่สะท้อนถึงพลังของภาคประชาสังคมยูเครน คือ การปฏิวัติ
สีส้ม (Orange Revolution) ใน ค.ศ. 2004 และการประท้วง Euromaidan ในช่วง ค.ศ. 2013-2014
การปฏิวัติสีส้ม (Orange Revolution) เป็นเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงของประชาชนยูเครน
ในช่วงเดือนธันวาคม ค.ศ. 2004 ถึงเดือนมกราคม 2005 ที่เกิดขึ้นท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
ความอึมครึมในการก้าวสู่ประชาธิปไตยที่ตั้งมั่น ความต้องการแสดงออกทางการเมือง และความ
คาดหวังในการท างานของรัฐบาลและสถาบันทางการเมืองที่มีประสิทธิภาพ สถานการณ์ทางการเมือง
เศรษฐกิจ และสังคมในยูเครนขณะนั้น เป็นเงื่อนไขที่สุกงอม รอเวลาการปะทุจากความไม่พอใจของ
ประชาชน
ชนวนส าคัญที่จุดประกายการปฎิวัติสีส้มมาจากการความไม่พอใจในผลการเลือกตั้ง
ประธานาธิบดีใน ค.ศ. 2004 รอบที่สอง ซึ่งเป็นรอบที่การแข่งขันเหลือเพียงผู้สมัครสองคน คือ นาย
Viktor Yushchenko ผู้มีนโยบายหันไปหายุโรปและประเทศอื่นนอกเหนือรัสเซีย ได้รับการสนับสนุน
จากชาวยูเครนตะวันตก และ นาย Viktor Yanukovych ซึ่งเป็นผู้ที่รัฐบาลเลือกขึ้นมาสืบต่ออ านาจ มี