Page 203 - kpiebook62016
P. 203
186
และผลักให้การพัฒนาตกอยู่ในวังวนของระบอบอ านาจนิยมที่ยอมให้มีการเลือกตั้ง แม้ว่าที่ผ่านมา
การชุมนุมประท้วงจะน าไปสู่การปฏิรูปรัฐธรรมนูญใน ค.ศ. 2014 ให้กลับไปยืนยันความชอบด้วย
กฎหมายของการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 2004 ก็ตาม
การเคลื่อนไหวของกลุ่มพลังฝ่ายขวา “the Right Sector” สะท้อนปัญหาการพัฒนา
ประชาธิปไตยของยูเครน ซึ่งมีคุณสมบัติร่วมกับอีกหลายประเทศที่ก าลังดิ้นรนในกระบวนการเปลี่ยน
ผ่านไปสู่ประชาธิปไตย ที่จนแล้วจนรอดก็ยังไปไม่ถึงประชาธิปไตย ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ย้อนกลับไปสู่
ระบอบเดิมที่จากมา คือ คอมมิวนิสต์ อ านาจนิยม หรือเผด็จการทหารเต็มรูปแบบ กล่าวได้ว่า ทั้งกลุ่ม
เคลื่อนไหวต่อต้าน และรัฐบาล ต่างไม่ได้เป็นประชาธิปไตยและไม่ได้เป็นเผด็จการที่สมบูรณ์ เช่น
รัฐบาลของประธานาธิบดี Yanukovich แม้จะเป็นประชาธิปไตยในความหมายขั้นต ่าที่มาจากการ
เลือกตั้ง แต่ก็ใช้อ านาจแทรกแซงการตรวจสอบ กดดันศาลรัฐธรรมนูญ ทุจริตคอรัปชั่น ไม่ค านึงถึงสิทธิ
มนุษยชน และด าเนินนโยบายต่างประเทศใกล้ชิดกับรัสเซียเพื่อความมั่นคงของรัฐบาล ไม่ใช่เพื่อความ
มั่นคงของประเทศและประชาชน ขณะเดียวกัน กลุ่มต่อต้านรัฐบาล เช่น กลุ่ม “the Right Sector” ก็
ไม่ใช่พลังพลเมืองบริสุทธิ์ หากเป็นกลุ่มชาตินิยมสุดโต่ง ที่ใช้ความรุนแรงในการประท้วงรัฐบาลจน
ก่อให้เกิดการจลาจล
แน่นอนว่า กระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยของยูเครนยังไม่สิ้นสุด เป็นที่น่าจับตา
มองว่า บทบาทและพลังทางสังคมจะช่วยขับเคลื่อนให้ประชาธิปไตยในยูเครนตั้งมั่นได้หรือไม่ หรือจะ
ตกอยู่ในหลุมพรางของการเป็นประเทศที่อยู่ในระบอบลูกผสม (Hybrid Regime)
ทัศนคติต่อระบอบประชาธิปไตย
หลังจากยูเครนได้รับอิสรภาพและกลายเป็นประเทศใหม่ภายหลังการล่มสลายของระบอบ
445
คอมมิวนิสต์ ยูเครนได้พยายามพัฒนาประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง ในงานของ Michael McFaul
ชี้ให้เห็นว่าแม้ยูเครนจะเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ประชาธิปไตย แต่ยังเป็นประชาธิปไตยที่ไม่เต็มใบ (Partial
Democracy) เพราะยังมีปัญหาเรื่องการจัดการความขัดแย้งทางการเมืองที่ไม่เป็นไปตามหลักนิติรัฐ
ปัญหาการจัดการเลือกตั้ง และการใช้กติกาทางกฎหมายและรัฐธรรมนูญเพื่อเป้าหมายทางการเมือง
เฉพาะเรื่อง อย่างไรก็ดี การเคลื่อนไหวของประชาชน ทั้งในช่วง ค.ศ. 2004 และค.ศ. 2013 พอจะท าให้
445 Michael McFaul, op. cit., pp. 212-244.