Page 227 - kpiebook62016
P. 227
210
ประชาธิปไตยแตกต่างไปจากที่ได้รับการจัดอันดับใน ค.ศ. 2015 ซึ่งได้น าเสนอในบทที่ 1 เล็กน้อย โดย
ผลการจัดอันดับในปีล่าสุดคือ ค.ศ. 2016 สามารถแบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่ คือ
1. กลุ่มประเทศที่เป็นประชาธิปไตยที่ตั้งมั่นแล้ว กล่าวคือ คนในประเทศยอมรับร่วมกันว่า
ประชาธิปไตยคือกติกาทางการเมืองเดียวที่ทุกคนยอมรับ และโอกาสที่จะเลือกใช้กติกานอกวิถีทาง
ประชาธิปไตยเป็นไปได้ต ่ามาก หรือแทบไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย ประเทศในกลุ่มนี้ ได้แก่ เกาหลีใต้ และชิลี
2. ประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยค่อนข้างสูง แต่ต ่ากว่ากลุ่มแรก ได้แก่ ประเทศ
อินโดนีเซีย อาร์เจนตินา และโปแลนด์
3. กลุ่มประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยปานกลาง ในกลุ่มประเทศนี้มีทั้งประเทศที่มี
แนวโน้มจะพัฒนาประชาธิปไตยให้ก้าวหน้ามั่นคงขึ้น เช่น ตูนีเซีย และประเทศที่ประชาธิปไตยมี
ลักษณะถดถอย เช่น ยูเครน
4. ประเทศที่มีระดับประชาธิปไตยค่อนข้างต ่า และยังคงถูกจัดให้เป็นประเทศอ านาจนิยม
ได้แก่ ไนจีเรีย ใน ค.ศ. 2016 ถูกจัดอยู่ในอันดับ 109 ด้วยคะแนน 4.50 สูงกว่ากัมพูชาและเมียนมาร์
เล็กน้อย โดยมีเกาหลีเหนือรั้งท้าย อยู่อันดับที่ 167 ด้วยคะแนน 1.08
ส าหรับประเทศไทย ในช่วง ค.ศ. 2007-2011 มีคะแนนความเป็นประชาธิปไตยอยู่ในระดับ
ปานกลาง คือ 56 คะแนน จัดอยู่ในล าดับที่ 63 แต่ใน ค.ศ. 2016 ประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ใน
ล าดับที่ 100 ด้วยคะแนน 4.93 ส่วนประเทศที่ได้รับการจัดอันดับว่ามีความเป็นประชาธิปไตยสูงสุด 5
ล าดับแรก เรียงจากมากไปหาน้อยคือ นอรเวย์ ไอซ์แลนด์ สวีเดน นิวซีแลนด์ และเดนมาร์ก
480
เกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งระดับประชาธิปไตย คือ
10.0 – 8.0 = เป็นประชาธิปไตยที่มั่นคง (Full democracies)
7.99 – 6.0 = เป็นประชาธิปไตยที่บกพร่องบ้าง (Flawed democracies)
5.99 – 4.0 = เป็นระบอบลูกผสม (Hybrid regimes)
3.99----> = เป็นระบอบอ านาจนิยม (Authoritarian regimes)
480
Democracy Index 2016 Revenge of the “deplorables.” A Report by Economist Intelligence Unit May 28, 2017, Available
from http://felipesahagun.es/wp-content/uploads/2017/01/Democracy-Index-2016.pdf.