Page 229 - kpiebook62016
P. 229
212
ผลักดันน าไปสู่การเปลี่ยนผ่านเพื่อสถาปนาระบอบประชาธิปไตยใน 8 ประเทศที่ศึกษา สามารถจัด
ประเภทได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
1. การเปลี่ยนผ่านโดยแรงกดดันจากพลังประชาสังคม และความร่วมมือจากกลุ่มต่างๆ ใน
สังคม ภายหลังเกิดวิกฤติภายในประเทศ พบได้ในเกาหลีใต้ ชิลี โปแลนด์ ยูเครน และ
ตูนิเซีย (ส าหรับโปแลนด์และยูเครน เช่นเดียวกับประเทศยุโรปตะวันออกอื่นๆ ที่การ
เปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นพร้อมๆ กับพลวัตร่วมกันของภูมิภาค
ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ในบริบททางการเมืองของ Gorbachev’s
perestroika
2. การเปลี่ยนผ่านโดยแรงกดดันจากพลังฝ่ายค้านและกลุ่มผู้น าพลเรือน ภายหลังรัฐบาล
ทหารขาดความชอบธรรมเนื่องจากไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต ่า เช่น ใน
อินโดนีเซีย และอาร์เจนตินา
3. การเปลี่ยนผ่านโดยความยินยอมปฏิรูปตนเองเนื่องจากแรงกดดันจากพลังภายใน
(Reformed itself under pressure from opposition within) และการวางแผนโดยผู้น า
ทหาร ซึ่งนับว่าเป็นการเปลี่ยนผ่านเพื่อสร้างรัฐบาลประชาธิปไตยที่พิเศษแตกต่างจาก
หลายประเทศ พบในไนจีเรีย
รูปแบบรัฐบาล และการจัดการปกครองของประเทศทั้ง 8 ประเทศ จัดกลุ่มได้ดังนี้
1. ระบบประธานาธิบดี ได้แก่ เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ชิลี อาร์เจนตินา และไนจีเรีย
2. ระบบกึ่งประธานาธิบดี กึ่งรัฐสภา ได้แก่ ตูนีเซีย ยูเครน และโปแลนด์
โดยใน 8 ประเทศนี้ 6 ประเทศใช้ระบบสภาคู่ (Bicameral legislature) มีเพียง 2 ประเทศ คือ
ยูเครน และตูนีเซีย ที่ใช้ระบบสภาเดียว (Unicameral legislature)
ตารางที่ 7.1 ให้ภาพรวมเพื่อท าความเข้าใจการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยของ 8 ประเทศ
ที่ศึกษา โดยมุ่งชี้ให้เห็นลักษณะเด่นของกระบวนการเปลี่ยนผ่าน และการออกแบบสถาบันการเมือง
ของแต่ละประเทศโดยเปรียบเทียบ