Page 238 - kpiebook62016
P. 238
221
โจทย์ส าคัญของงานวิจัยที่กล่าวไว้ในบทน า และเป็นหัวใจก ากับทิศทางของการศึกษาชิ้นนี้คือ
เราสามารถสะกัดความรู้ใหม่อะไรได้บ้างจากการเปรียบเทียบ 8 ประเทศ ใน 4 ภูมิภาค ที่มีบริบททาง
ศาสนา วัฒนธรรม ระบอบการปกครองเดิม เและประวัติศาสตร์แตกต่างกัน ในส่วนต่อไปนี้ของบทสรุป
จะเป็นการวิเคราะห์ข้อเสนอหลักและสมมติฐานที่ตั้งไว้โดยมีที่มาจากกรอบทฤษฎีและการทบทวน
วรรณกรรมในบทน าและบทที่ 2 ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์และกรณีศึกษาซึ่งน าเสนอในบทที่ผ่านมา เพื่อ
ตอบค าถามว่า ปัจจัยใดบ้างที่ส าคัญ จ าเป็น และเพียงพอ ต่อการอธิบายความส าเร็จในการ
เปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองหนึ่งไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่ตั้งมั่น และสามารถจรรโลงประชาธิปไตย
ได้อย่างยั่งยืน โดยการศึกษานี้มุ่งวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสถาบันเป็นส าคัญ จึงไม่ได้ศึกษาปัจจัยทาง
เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และอื่นๆ รายละเอียดของปัจจัยเชิงสถาบันที่ส่งผลต่อระบอบประชาธิปไตย
ปรากฏในส่วนต่อไปนี้
ปัจจัยเชิงสถาบันที่ส่งผลต่อความส าเร็จในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย และการจรรโลง
ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน
ประสบการณ์และข้อมูลเชิงประจักษ์จาก 8 ประเทศ 4 ภูมิภาคที่ได้ศึกษาในงานวิจัยชิ้นนี้
น ามาสู่ข้อสรุปถึงปัจจัยส าคัญที่ส่งผลต่อความส าเร็จในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย
(Democratization) และการจรรโลงประชาธิปไตยให้ยั่งยืน (Democratic Consolidation) ดังนี้ (โปรด
สังเกตว่า ล าดับการน าเสนอไม่ได้สะท้อนล าดับความส าคัญ และการมีปัจจัยใดปัจจัยเดียวไม่เพียงพอ
แต่ต้องเป็นปฎิบัติการร่วมของหลายปัจจัย)
1. การผนึกก าลังของพลังฝ่ายค้าน และความพร้อมที่จะประนีประนอม
การรวมตัวกันของพลังฝ่ายค้านจ าเป็นต้องอาศัยยุทธศาสตร์ และเทคนิคในการสร้างสะพาน
เชื่อมความไม่เข้าใจ ความขัดแย้ง และความไม่ลงรอยกันในเชิงผลประโยชน์และอุดมการณ์ของกลุ่ม
ต่างๆ ประสบการณ์ในหลายประเทศชี้ว่า การรวมตัวกันและสร้างสะพานเชื่อมความเข้าใจที่แข็งแรง
มักท าผ่านแกนน าทางการเมืองที่ท างานอย่างหนักในการประสานรอยร้าว และสร้างเครือข่ายแนวร่วม
ให้เกิดพลัง ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบพรรคการเมือง กลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคม สหภาพแรงงาน สหภาพ
นักศึกษา สถาบันทางศาสนา หรือกลุ่มธุรกิจ การประสานพลังจากภาคประชาสังคม และความร่วมมือ
จากกลุ่มต่างๆ เป็นเงื่อนไขเบื้องต้นที่น าไปสู่การวางรากฐานประชาธิปไตยใน 3 ประเทศที่ศึกษา ได้แก่
โปแลนด์ ชิลี ตูนีเซีย