Page 243 - kpiebook62016
P. 243
226
ขึ้น ขณะที่อาร์เจนตินา ทุกวันนี้ ยังคงใช้รัฐธรรมนูญ ค.ศ.1853 ฉบับแก้ไข ค.ศ. 1994 โดยไม่ได้มีการ
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ในกรณีที่มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ควรเปิดให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมอย่างมี
นัยส าคัญ ไม่ใช่ท าเพียงพิธีกรรมในเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญควรตั้งค าถาม
กับประเด็นที่อยู่ในความสนใจ ที่ประชาชนวิตกกังวล และหลายฝ่ายมองว่าเป็นปัญหาร่วมกัน
กระเทาะความกังวลออกมาให้มากที่สุด และสร้างมาตรการเพื่อให้ปัญหาที่ด ารงอยู่เหลือน้อยที่สุด
ประสบการณ์ในชิลี ชี้ว่า การออกแบบสถาบันทางการเมืองในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ บางทีอาจ
ไม่สามารถบรรลุหลักการประชาธิปไตยเต็มรูปแบบได้ในทันที เช่น ระบบเลือกตั้ง Binomial system
ของชิลีที่จัดสรรให้พรรคที่ได้คะแนนอันดับสองมีที่นั่งในสภาใกล้เคียงกับพรรคอันดับหนึ่ง ถูกใช้อยู่นาน
ถึง 25 ปี หลังการล่มสลายของระบอบ Pinochet เพื่อสนองความต้องการของทหารและพลังอนุรักษ์
นิยม ในแง่นี้ จะเห็นว่า ระบบเลือกตั้งถูกออกแบบมาให้เป็นเครื่องมือลดทอนเสียงข้างมากและ
เบี่ยงเบนเจตนารมณ์ของประชาชน แต่ชิลีก็ยอมอดทนให้มรดกทางการเมืองในระบอบทหารยังคง
อยู่ เพิ่งเปลี่ยนมาป็นระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน (Proportional representation system) ใน ค.ศ.
481
2013 นี้เอง การเขียนรัฐธรรมนูญโดยติดตั้ง “กลไกคัดง้างเสียงข้างมาก” (Counter majoritarian
mechanism) จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้กันในหลายประเทศ แต่กลไกคัดง้างเสียงข้างมาก เช่น ศาล
รัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระ ต้องมีที่มาที่เชื่อมโยงกับประชาชน และต้องไม่ใช้อ านาจที่ไม่สอดคล้อง
กับเจตจ านงค์ของประชาชน เพราะกลไกคัดง้างเสียงข้างมากถูกออกแบบมาให้ท างานในระบอบ
ประชาธิปไตยแบบตัวแทน ที่ประชาชนได้เลือกฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติให้บริหารประเทศแทนตน
กลไกคัดง้างเสียงข้างมาก คือ ระบบตรวจสอบที่เป็นหลักประกันว่า รัฐบาลและรัฐสภาที่มาจากเสียง
ข้างมากของประชาชนจะไม่ลุแก่อ านาจ ไม่ใช่กลไกที่เข้ามาเพื่อขัดขวางการท าหน้าที่ของสถาบัน
การเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน หรือท าให้อ านาจที่มาจากเสียงของประชาชนไร้
ความหมาย
ถึงแม้เนื้อหาในรัฐธรรมนูญจะมีความส าคัญ แต่ที่ส าคัญยิ่งกว่าคือ กระบวนการสถาปนา
รัฐธรรมนูญเกิดขึ้นอย่างไร และโดยใคร เพื่อที่จะให้รัฐธรรมนูญเป็นกลไกหลักที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยน
ผ่านไปสู่ประชาธิปไตยที่ส าเร็จ ผู้ร่างรัฐธรรมนูญจ าเป็นต้องได้รับการยอมรับ ร่างโดยกระบวนการที่
481 Daniel Pastor, op. cit., pp. 38-57.