Page 239 - kpiebook62016
P. 239

222







                              ในประเทศโปแลนด์ สหภาพแรงงาน (Trade  Union  Solidarity) ท างานใกล้ชิดกับกลุ่ม
                       นักศึกษา นักวิชาการ จนน าไปสู่การเจรจาโต๊ะกลม 3 ฝ่าย ร่วมกับผู้น าศาสนา  (The  Catholic

                       Church) และพรรคคอมมิวนิสต์ที่กุมอ านาจรัฐในขณะนั้น หลังการเลือกตั้งครั้งแรก รัฐบาลโดยการน า

                       ของ  the  Solidarity  ท าหน้าที่เป็นองค์กรดูแลการเปลี่ยนผ่าน (Transitional  body) พรรค  Solidarity

                       คุมต าแหน่งครึ่งหนึ่งในคณะรัฐบาล ส่วนที่เหลือเป็นการแบ่งกันระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์ และอีก 2
                       พรรคคือ the United People’s Party และพรรค the Democratic Party ซึ่งเป็นแนวร่วมเดิมของพรรค

                       คอมมิวนิสต์ นั่นหมายความว่าพรรคการเมืองและแกนน าในระบอบเดิมยอมรับการแข่งขันในกติกา

                       ของระบอบใหม่ และยินดีเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาล  บทบาทของพรรคคอมมิวนิสต์โปแลนด์ (the

                       Communist United Workers Party (PZPR) เป็นตัวอย่างของพรรคการเมืองที่ครองอ านาจเดิมที่เอื้อ
                       ให้การเจรจาช่วงเปลี่ยนผ่านด าเนินไปได้อย่างละมุนละม่อม พรรคคอมมิวนิสต์โปแลนด์เมื่อตระหนัก

                       ว่าไม่สามารถบริหารประเทศได้ เป็นผู้ริเริ่มการเจรจากับกลุ่มฝ่ายค้าน (Solidarity) ปรับแก้รัฐธรรมนูญ

                       ค.ศ. 1952 และยอมให้กลุ่ม  Solidarity จัดตั้งพรรคการเมืองได้อย่างถูกกฎหมายและลงสมัครรับ

                       เลือกตั้งอย่างเสรีได้ในเดือนมิถุนายน ค.ศ.  1989 ต่อมาโปแลนด์จึงยกเลิกระบอบคอมมิวนิสต์อย่าง

                       เป็นทางการ เปลี่ยนชื่อเป็น the Social Democracy of the Polish Republic (SdRP) ที่ปกครองด้วย
                       ระบอบสังคมนิยมประชาธิปไตย (Democratic socialism) จนกระทั่งทุกวันนี้


                              ในประเทศชิลี การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยที่ส าเร็จมีที่มาจากจุดเริ่มต้นที่กลุ่มการเมือง

                       ต่างขั้ว ได้แก่ กลุ่มอนุรักษ์นิยม  คริสเตียนเดโมเครติก และกลุ่มพรรคสังคมนิยม ซึ่งมีจุดยืนทาง

                       เศรษฐกิจ สังคม แตกต่างกัน และเคยสนับสนุนผู้น าคนละฝ่าย สามารถบรรลุข้อตกลงประนีประนอม
                       เป็นพันธมิตรทางการเมือง ที่ส าคัญการประนีประนอมในชิลี ไม่ใช่เพียงการสร้างแนวร่วมระหว่างพรรค

                       การเมืองสองฝ่ายเท่านั้น แต่เป็นการประนีประนอมระหว่างกลุ่มผู้น าพลเรือน และผู้น าทางทหารด้วย


                              ในทางตรงข้าม ในประเทศที่พลังฝ่ายค้านแตกแยก ไม่สามารถรวมตัวกันได้ จะพบว่าโอกาส

                       ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยจะริบหรี่และถดถอยลง หรือเมื่อเปลี่ยนผ่านแล้ว โอกาสในการ

                       จรรโลงประชาธิปไตยให้ยั่งยืนก็อาจลดลง เช่น กรณียูเครน หลังการปฎิวัติสีส้ม (the  Orange

                       Revolution) ใน ค.ศ. 2004-2005 ส่งผลให้การเลือกตั้งที่เชื่อกันอย่างกว้างขวางว่าทุจริตถูกล้มไป แต่
                       ความแตกแยกในหมู่นักปฎิรูป ท าให้การพัฒนาไปสู่ประชาธิปไตยและการสถาปนาสถาบันทาง
   234   235   236   237   238   239   240   241   242   243   244