Page 244 - kpiebook62016
P. 244

227







                       ชอบด้วยกฎหมายและชอบธรรม เปิดให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม (Inclusive) เพื่อให้รัฐธรรมนูญเป็นกติกาที่
                       ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันและรู้สึกหวงแหน อยู่คู่กับระบอบการเมืองใหม่อย่างยาวนานโดยไม่ถูกโค่นล้ม

                       โดยง่าย ภายใต้หลักคิดดังกล่าว รัฐธรรมนูญไม่ควรแก้ไขได้ง่ายเกินไป หรือในทางตรงข้าม แก้ไขได้

                       ยากมากจนไม่สามารถแก้ไขได้ หากสถานการณ์ทางการเมืองบ่งชี้ว่ามีความจ าเป็นสมควรต้องแก้ไข

                       รัฐธรรมนูญ และหัวใจส าคัญที่จะท าให้รัฐธรรมนูญมีชีวิตที่ยืนยาว คือ การท าให้ประชาชนเป็นเจ้าของ
                       รัฐธรรมนูญ การที่ประชาชนจะรู้สึกเป็นเจ้าของ จึงเริ่มตั้งแต่กระบวนการร่างที่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วม


                              4. กองทัพอยู่ภายใต้รัฐบาลพลเรือน


                              ประสบการณ์จากประเทศที่การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยฉายแววมั่นคง ไม่ถดถอยและ

                       เกิดปราฏการณ์ออกจากประชาธิปไตย ล้วนมีความส าเร็จเบื้องต้นร่วมกันประการหนึ่ง นั่นคือ การท า
                       ให้ทหารและกองทัพอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเรือน  (Civilian  control  of  the  military)

                       ความส าเร็จในการท าให้กองทัพอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐบาลพลเรือน จะช่วยให้ผู้น าประเทศ

                       ในช่วงระยะเปลี่ยนผ่าน สร้างแรงบันดาลใจต่อความไว้วางใจในสถานการณ์การเมืองภายในประเทศ

                       (Inspire domestic trust) และให้ต่างประเทศยอมรับในความชอบธรรมของรัฐบาลใหม่ กระบวนการนี้

                       จึงเป็นก้าวส าคัญที่จะก่อให้เกิดความมั่นใจในกระบวนการเลือกตั้ง และเชื่อมั่นว่าเสียงส่วนใหญ่ของ
                       ประชาชนจะได้รับการเคารพภายใต้กติกาที่ยึดมั่นในหลักนิติรัฐ


                              การท าให้ทหารและกองทัพอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐบาลพลเรือนในสังคมที่ทหารเคย

                                                                                       482
                       เป็นใหญ่ และปกครองประเทศอย่างยาวนานไม่ใช่เรื่องง่าย Zoltan  Barany   ผู้ศึกษาความสัมพันธ์
                       ระหว่างทหารและพลเรือนใน  27  ประเทศทั่วโลก กล่าวว่า ในการเปลี่ยนระบอบการเมืองไปสู่
                       ประชาธิปไตย บทบาทของทหารมีความส าคัญมาก หรือกล่าวได้ว่า ทหารเป็นสถาบันที่มีความส าคัญ

                       สูงสุด เนื่องจาก ระบอบประชาธิปไตยจะมั่นคงไม่ได้ หากผู้น าทหารไม่สนับสนุนประชาธิปไตย


                              การจะประสบความส าเร็จในการบังคับใช้หลักการรัฐบาลพลเรือนมีอ านาจบังคับบัญชาทหาร

                       จะต้องมีการจัดวางต าแหน่งแห่งที่ของกองทัพอย่างเหมาะสม ข้อมูลจากประเทศที่ศึกษาในงานชิ้นนี้

                       สะท้อนว่าความส าเร็จเกิดขึ้นด้วย 3 ตัวแปรส าคัญ คือ 1) การร่างรัฐธรรมนูญที่จ ากัดอ านาจทหาร โดย

                       ใช้กฎหมายสูงสุดก ากับบทบาทของทหารให้อยู่เฉพาะในมิติด้านความมั่นคงและปกป้องประเทศ 2)



                       482  Zoltan Barany, op. cit.
   239   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249