Page 49 - kpiebook62016
P. 49
32
บทที่ 3
การเปลี่ยนผ่านจากระบอบทหารไปสู่ระบอบประชาธิปไตย
ในทวีปเอเชีย
ในภูมิภาคเอเชีย มีเพียงไม่กี่ประเทศที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประชาธิปไตยที่ตั้งมั่น และมี
คะแนนดัชนีชี้วัดความเป็นประชาธิปไตยที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคอื่นๆ โดยเฉพาะยุโรป
หนึ่งในประเทศที่ถูกจัดให้อยู่ในฐานะประเทศประชาธิปไตยที่ตั้งมั่นของภูมิภาคเอเชียคือ เกาหลีใต้
แม้ว่าจะเพิ่งมีการถอดถอนประธานาธิบดี ปัก กึน เฮ (Park Geun-hye) ออกจากต าแหน่ง โดย
กระบวนการทางรัฐสภาและค าวินิจฉัยขั้นสุดท้ายจากศาลรัฐธรรมนูญ ฐานมีส่วนพัวพันกรณีเพื่อน
สนิทเรียกรับเงินและผลประโยชน์ แต่การพ้นจากต าแหน่งของประธานาธิบดีดังกล่าว ไม่ส่งผลต่อ
เสถียรภาพของระบบการเมือง อีกประเทศหนึ่งที่ก าลังถูกจับตามองว่ามีแนวโน้มสูงที่จะก้าวไปเป็น
ประเทศประชาธิปไตยที่ตั้งมั่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ อินโดนีเซีย ในบทนี้จะได้ศึกษา
กระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยของทั้งสองประเทศ ในฐานะตัวอย่างของประเทศที่เปลี่ยน
ผ่านจากระบอบทหารไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่ประสบความส าเร็จของเอเชีย
เส้นทางสู่ประชาธิปไตยของเกาหลีใต้
เกริ่นน า
นับตั้งแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐเกาหลีใน ค.ศ. 1948 ประเทศเกาหลีใต้ต้องเผชิญกับสภาวะ
ความไร้เสถียรภาพทางการเมืองและการแทรกแซงทางการเมืองจากกองทัพเป็นระยะ ส่งผลให้ใน
ช่วงเวลาประมาณ 3 ทศวรรษ ระหว่าง ค.ศ. 1948 ถึง ค.ศ. 1980 มีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญถึง 5 ครั้ง
และนับตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 หรือรัฐธรรมนูญฉบับยูชิน (the Yushin
Constitution) ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1972 ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกตั้งประธานาธิบดีจาก
การเลือกตั้งโดยตรงมาเป็นการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) ส่งผลให้การ
เลือกตั้งประธานาธิบดี 3 ครั้ง คือ การเลือกตั้งใน ค.ศ. 1972 ค.ศ. 1978 และ ค.ศ. 1979 เป็นการเลือกตั้ง
73
ที่ปราศจากคู่แข่ง และเมื่อมีการสถาปนารัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 ใน ค.ศ. 1981 หลังจากการรัฐประหาร
73 Aurel Croussant, "Republic of Korea," in Dieter Nohlen, Florian Grotz and Christof Hartmann (eds.), Elections in Asia and
the Pacific A Data Handbook vol. 2 South East Asia, East Asia and the South Pacific (Oxford: Oxford University Press,
2001), p. 477.