Page 48 - kpiebook62016
P. 48
31
ประชาธิปไตย คุณภาพของระบบการเมืองย่อมขึ้นอยู่กับผู้น าทางการเมืองและตัวแปรอื่นๆ เช่น
สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ ระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และความเป็นสมัยใหม่ในแต่ละสังคม
ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีกับวิธีการศึกษา และข้อสรุปของการศึกษา
จากการส ารวจวรรณกรรมที่ได้น าเสนอไปข้างต้น น ามาสู่การสร้างกรอบการศึกษาดังที่ระบุไว้
ในบทน า ซึ่งจะกล่าวทวนในที่นี้
ผู้เขียนได้ก าหนดคุณสมบัติของประชาธิปไตยที่มั่นคง ไม่ถดถอยย้อนกลับไปสู่ระบอบอ านาจ
นิยม 3 มิติ อันประกอบด้วย มิติด้านสถาบันการเมือง มิติด้านการเป็นตัวแทน และมิติด้านทัศนคติและ
วัฒนธรรมการเมือง คุณสมบัติในแต่ละมิติเหล่านี้ แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากคุณลักษณะของระบอบ
อ านาจนิยม รวมถึงระบอบลูกผสมที่แน่ชัดว่าไม่ได้เป็นประชาธิปไตย
เพื่อหาข้อสรุปว่าปัจจัยใดบ้างที่มีอิทธิพลต่อความส าเร็จในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย
ที่ไม่ย้อนกลับและตกอยู่ในวัฎจักรของการเปลี่ยนผ่านและออกจากประชาธิปไตยจนกลายเป็นระบอบ
ลูกผสม ผู้เขียนสังเคราะห์และประมวลความรู้จากวรรณกรรมทางรัฐศาสตร์ น ามาสู่สมมติฐานว่า
ปัจจัยร่วมที่มีอิทธิพลต่อการมีประชาธิปไตยที่มั่นคง 5 ประการ คือ 1. บทบาทของผู้น าทางการเมือง
(Roles of political leaders) 2. การเห็นพ้องยอมรับในรัฐธรรมนูญและกติกาทางการเมืองภายใต้
ระบอบรัฐธรรมนูญ (Consensus on the new constitution and democratic rules) 3.จัดให้มีการ
เลือกตั้งโดยเร็ว (Quick Elections) 4. การผนึกก าลังของฝ่ายค้านที่พร้อมจะประนีประนอม
(Willingness to compromise) และ 5. กองทัพไม่แทรกแซงการเมือง (No Military Interventions)
จากสมมติฐานปัจจัย 5 ด้านที่จ าเป็นต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย น ามาสู่ประเด็น
เพื่อการเปรียบเทียบ 8 ประเทศ ใน 4 ภูมิภาค ประเด็นที่เป็นกรอบในการเปรียบเทียบมีดังต่อไปนี้
1. การโอนคืนอ านาจให้ประชาชน 2. การปฏิรูปรัฐธรรมนูญ 3. การออกแบบสถาบันการเมือง (ได้แก่
ระบบเลือกตั้ง รูปแบบรัฐบาล กลไกคัดง้างเสียงข้างมาก และกติกาเกี่ยวกับพรรคการเมือง) 4. บทบาท
ของสถาบันและตัวแสดงทางการเมือง 5. บทบาทของกองทัพ 6. การจัดต าแหน่งแห่งที่ให้แก่กองทัพ
7. บทบาทของกลุ่มต่างๆ ในสังคม และ 8. ทัศนคติต่อระบอบประชาธิปไตย บทที่ 3 ถึง บทที่ 6 ต่อจาก
นี้ จะได้น าเสนอการเปรียบเทียบแต่ละประเทศตามกรอบที่วางไว้