Page 47 - kpiebook62016
P. 47

30







                       ซึ่งมีฐานคิดมาจากการวิเคราะห์กระบวนการ กฎหมายที่เป็นทางการ แง่มุมทางประวัติศาสตร์ และ
                       ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบัน ตั้งค าถามส าคัญว่า รูปแบบของฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ

                       รัฐธรรมนูญ พรรคการเมือง และระบบเลือกตั้ง มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพและเสถียรภาพของระบบ

                                              70
                       การเมืองอย่างไร หรือไม่  รูปแบบสถาบันการเมืองแบบใดที่เอื้อต่อการสร้าง และการพัฒนา
                       ประชาธิปไตย และสถาบันการเมืองควรมีโครงสร้างอย่างไร และท าหน้าที่อะไร

                              ปัญหาส าคัญของประเทศที่เพิ่งเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่เรียกว่า ประชาธิปไตย

                       ที่  “เริ่มตั้งไข่” (Fledging  democracies) ไม่ใช่เพียงการออกแบบและการเลือกรูปแบบสถาบัน

                       การเมืองเท่านั้น แต่ที่ยากไปกว่านั้น คือการสร้างแรงจูงใจให้นักการเมืองและกลุ่มทางสังคมการเมือง

                       ต่างๆ ยอมรับและยอมใช้สถาบันการเมืองที่มาจากประชาชน และเป็นตัวแทนประชาชนเป็นช่องทาง

                       ในการสื่อสาร และตอบสนองต่อประชาชนโดยไม่หันไปหากลไกอื่นนอกเหนือสถาบันการเมืองภายใต้
                       รัฐธรรมนูญ Adam Przeworski กล่าวว่า “แม้ว่าจะมีแรงกดดันมากเพียงใด พลังทางการเมืองจะต้อง

                                                                                               71
                       ยอมรับให้ผลประโยชน์ของตนถูกตัดสินโดยสถาบันการเมืองที่เป็นตัวแทนประชาชน”  การยอมรับใน
                       กติกาและระเบียบทางการเมืองที่ก ากับโดยสถาบันการเมืองจากพลังในสังคมการเมืองทุกฝ่าย คือ

                       เกณฑ์เบื้องต้นของความส าเร็จในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย ความส าเร็จจะเกิดขึ้นได้อย่าง
                                                                                  72
                       รวดเร็วยิ่งขึ้น หากประชาชนมีทัศนคติและพฤติกรรมที่เกื้อหนุนระบอบ


                              จากมุมมองดังกล่าว รูปแบบ ประเภท และการจัดความสัมพันธ์ของสถาบันการเมือง
                       เป็ นปัจจัยจ าเป็ นที่ขาดไม่ได้ในการสร้างประชาธิปไตยที่มั่นคงไม่ย้อนกลับ แต่แน่นอนว่า

                       สถาบันการเมืองไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ส่งผลต่อความส าเร็จหรือความล้มเหลว และที่ส าคัญไม่สามารถ

                       แสดงบทบาทอย่างโดดเดี่ยวด้วยตัวเองโดยปราศจากปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่





                       70  Giovanni Sartori (ed.), Comparative Constitutional Engineering: An Inquiry into Structures, Incentives and Outcomes

                       (New York: New York University Press, 1994); Scott Mainwaring and Timothy R. Scully, Building Democratic Institutions:
                       Party  Systems  in  Latin  America  (Stanford:  Stanford  university  Press,  1995);  and  Wolfgang  Merkel,  “Institutions  and
                       Democratic Consolidation in East Central Europe,” the Juan March Institute Papers, Madrid, no. 86 (December 1996).
                       71   Adam  Przeworski;  Sustainable  Democracy  (New  York:  Cambridge  University  Press,  1995),  Chapter  5:  “Economic
                       Reforms in New Democracies” Prseworski specifically said that “regardless of how pressing their needs may be, political
                       forces must be willing to subject their interests to the verdict of representative institutions.”
                       72 Juan J. Linz and Alfred Stepan, “Toward Consolidated Democracies”, Journal of Democracy vol. 7, no. 2 (April 1996): 15-17.
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52