Page 46 - kpiebook62016
P. 46

29






                                                     67
                       ฝ่ายตุลาการ (Judicial  immunity)   คุณสมบัติเหล่านี้สะท้อนอ านาจพิเศษของกองทัพที่ยังด ารง
                       ช่องทางในการสืบทอดอิทธิพลทางการเมืองภายหลังการเปลี่ยนระบอบการเมือง ลักษณะเช่นนี้ท าให้

                       ระบอบการเมืองของชิลีขณะนั้น ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นประชาธิปไตย แต่เป็นระบอบลูกผสม


                              ระบอบลูกผสมหนึ่งที่มักพบเห็นได้ในกลุ่มประเทศที่ถอยหลังออกจากประชาธิปไตย (De-

                       democratization) ในแอฟริกา เอเชีย และอเมริกาใต้ ได้แก่ ระบอบอ านาจนิยมที่มีการแข่งขัน นั่นคือ
                       ระบบการเมืองที่รัฐและพรรคการเมืองที่อยู่ในอ านาจครอบครองก าลังบังคับและกุมการชี้น าใน

                       โครงสร้างการแข่งขัน สามารถใช้ทรัพยากรของรัฐเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบในการแข่งขัน ท าให้

                       สามารถชนะเลือกตั้งได้โดยที่พรรคการเมืองฝ่ายค้านไม่มีโอกาสก้าวขึ้นมาท้าทายอ านาจของพรรค

                       รัฐบาล เพราะไม่สามารถแข่งขันเลือกตั้งในระบบปิด ที่ไม่เสรี และไม่เป็นธรรมนี้ได้ ในระบบการเมือง

                                                                       68
                       เช่นนี้ ประชาธิปไตยไม่สามารถเจริญเติบโตหรือพัฒนาได้  ตัวอย่างประเทศที่มีลักษณะอ านาจนิยมที่
                       มีการแข่งขัน เช่น โกตดิวัวร์ (ตุลาคม ค.ศ. 1990) กาบอง (สิงหาคม-ตุลาคม ค.ศ. 1990) เอธิโอเปีย

                       (มิถุนายน ค.ศ. 1992) แคเมอรูน (ตุลาคม ค.ศ. 1992) กานา (พฤศจิกายน ค.ศ. 1992) และเคนยา

                       (ธันวาคม ค.ศ. 1992) โดยที่การเปลี่ยนผ่านในประเทศเหล่านี้ถูกผูกขาดทางเลือก (Co-opted

                       Transitions) ด้วยการจัดให้มีการเลือกตั้งในระบบที่ไม่มีการแข่งขัน ประธานาธิบดีซึ่งอยู่ในอ านาจ

                       อนุญาตให้มีการเลือกตั้งในระบบหลายพรรคการเมือง โดยการควบคุมสื่อ กลไกการเลือกตั้งและ
                                                                                                            69
                       ถือครองทรัพยากรที่เหนือกว่า ท าให้สามารถเอาชนะฝ่ายตรงข้ามและยังคงอยู่ในอ านาจได้ต่อไป
                       ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กัมพูชาภายใต้สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน และเมียนมาร์

                       ก็มีลักษณะเป็นระบอบอ านาจนิยมที่ยอมให้มีการแข่งขัน


                       บทบาทของสถาบันการเมืองในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย (The Role  of Institutions
                       in Democratic Transition)


                              การจัดระเบียบและความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้นักรัฐศาสตร์

                       สามารถแยกแยะคุณสมบัติและคุณภาพของระบอบประชาธิปไตย แนวทางการศึกษาสถาบันการเมือง


                       67  Stephan Haggard and Robert Kaufman, The political economy of democratic transitions (Princeton: Princeton University
                       Press, 1998).
                       68  Steven Levitsky and Lucan A. Way, “Elections Without Democracy: The Rise of Competitive Authoritarianism,” Journal of
                       Democracy. vol. 13, no.2 (April 2002): 51-65.
                       69  Guy Martin, “Preface: Democratic Transition in Africa,” A Journal of Opinion vol. 21, no.1/2 (1993): 6-7.
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51