Page 44 - kpiebook62016
P. 44

27







                       ระบอบใหม่ที่ได้คือประชาธิปไตย ไม่ใช่ระบอบลูกผสม (Hybrid  Regime) ที่ไม่ได้มีคุณสมบัติของ
                       ประชาธิปไตยดังที่ได้ตั้งเกณฑ์ไว้ก่อนหน้านี้ ในที่นี้จะน าเสนอหลุมพรางของระบอบลูกผสมให้

                       พิจารณาใน 3 มิติ ดังนี้


                              มิติที่ 1 การเลือกตั้งที่มีการแข่งขันอย่างเสรี จากการเปรียบเทียบคุณสมบัติของระบอบ

                       ประชาธิปไตย และระบอบลูกผสมสายพันธุ์ต่างๆ พบว่า การจัดให้มีเลือกตั้งอย่างเดียวไม่อาจเป็น
                       หลักประกันความเป็นประชาธิปไตยได้ การเลือกตั้งต้องเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายแข่งขันอย่างเสรี

                       (Competitiveness) จึงเป็นเงื่อนไขส าคัญของการกระจายอ านาจในระบบการเมืองและส่งเสริมการ

                       เปลี่ยนผ่านและการสร้างประชาธิปไตยที่มั่นคง การเลือกตั้งที่มีการแข่งขันอย่างเสรีกับการเลือกตั้ง

                       ภายใต้กติกาที่เอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งโดยธรรมชาติมักเอื้อให้ฝ่ายที่อยู่ในอ านาจขณะนั้น

                       ครอบครองอ านาจต่อไป ย่อมน ามาสู่ผลลัพธ์ของระบบการเมืองที่แตกต่างกัน ในกรณีหลังการเลือกตั้ง
                       กลายเป็นเพียงกลไกหรือเครื่องมือของการสืบทอดอ านาจและรักษาสถานภาพเดิมของระบอบ ไม่ได้

                       ก่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางอ านาจหลังการเลือกตั้ง


                              มิติที่ 2 สิทธิเสรีภาพของประชาชน นอกจากการเลือกตั้งที่ต้องแข่งขันอย่างเสรีแล้ว อีกมิติ

                       ที่แยกแยะความแตกต่างระหว่างระบอบประชาธิปไตยเสรี กับระบอบลูกผสมก็คือ สิทธิเสรีภาพของ

                       ประชาชน ได้แก่ เสรีภาพที่จะเชื่อ เสรีภาพในการพูด การแสดงออก การรวมกลุ่ม การเข้าถึงข้อมูล
                       ข่าวสารอย่างเสรีโดยไม่ถูกควบคุมโดยรัฐ ที่กล่าวมานี้ สะท้อนรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและ

                       สังคมที่สุขภาพดีและเป็นมิตรต่อกัน ขณะเดียวกัน การที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพตามหลักสิทธิ

                       มนุษยชน ย่อมเป็นหลักประกันเบื้องต้นว่าจะท าให้เกิดตลาดแข่งขันเสรีในระบบการเมือง ผ่านระบบ

                       พรรคการเมืองที่เข้มแข็ง ในทางตรงข้าม หากสิทธิเสรีภาพของประชาชนถูกจ ากัด การแข่งขันย่อมไม่
                       สมบูรณ์


                              และมิติที่ 3 ระดับการแทรกแซงทางการเมืองโดยสถาบันที่พิทักษ์ระบอบเดิม

                       (Tutelary  interference)  เป็นปัจจัยที่มีความส าคัญไม่แพ้ 2  มิติแรกในการก าหนดความส าเร็จหรือ

                       ความล้มเหลวของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย สถาบันที่พิทักษ์ระบอบเดิมใช้ทั้งอ านาจเชิง
                       สัญลักษณ์และอ านาจที่เป็นรูปธรรมเพื่อเหนี่ยวรั้งการเปลี่ยนแปลง หรือผลักดันให้การเปลี่ยนแปลงที่

                       เกิดขึ้นวนย้อนกลับไปสู่ระบอบเดิมก่อนการเปลี่ยนแปลงสู่ประชาธิปไตย สถาบันพิทักษ์ระบอบเดิมนี้

                       ไม่ได้มีที่มาหรือมีความเชื่อมโยงกับประชาชนโดยผ่านการเลือกตั้ง เช่น อ านาจจากกองทัพ อ านาจของ
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49