Page 14 - kpiebook65010
P. 14
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
บทสรุปผู้บริหาร
สืบเนื่องจากบทบัญญัติมาตรา 77 วรรคสอง แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2560 (รัฐธรรมนูญฯ 2560) ได้วางหลักประกันให้มีการวิเคราะห์ผลกระทบในการตรา
กฎหมาย (regulatory impact assessment/analysis: RIA) โดยเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐ
ที่เสนอร่างกฎหมายมีหน้าที่วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและ
เป็นระบบในขั้นตอนก่อนการตรากฎหมาย ในเวลาต่อมาจึงได้มีการตรากฎหมายเพื่อวาง
หลักเกณฑ์และวิธีการในการทำ RIA ได้แก่ พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและ
การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ผลกระทบในขั้นตอนการทำ RIA นั้น พระราชบัญญัติ
ฉบับดังกล่าว กำหนดให้หน่วยงานของรัฐนำหลักการหรือประเด็นสำคัญของร่างกฎหมายไปรับฟัง
ความคิดเห็นโดยนำเสนอข้อมูลประกอบการรับฟังความคิดเห็นซึ่งรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล
ซึ่งได้รับหรืออาจได้รับผลกระทบ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายในด้านการดำรงชีวิต
การประกอบอาชีพ หรือผลกระทบในทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม หรือผลกระทบอื่นที่สำคัญ
รวมทั้งกำหนดให้มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบซึ่งอาจเกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ อันรวมถึง
ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย
แม้ว่าหลักเกณฑ์การทำ RIA ข้างต้นจะกล่าวถึงผลกระทบแง่มุมต่าง ๆ ที่ควรมีการวิเคราะห์
แต่ในส่วนรายละเอียดการดำเนินการนั้น กฎหมายทั้งสองฉบับไม่ได้กำหนดรายละเอียดว่า
การวิเคราะห์ผลกระทบที่ต้องดำเนินการ มีหลักการ วิธีการ และแนวทางดำเนินการอย่างไร
และแม้ว่าในปัจจุบันมีการกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการทำ RIA ในเอกสาร
ที่ไม่มีสภาพบังคับทางกฎหมายโดยตรงอยู่บ้าง ได้แก่ แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
1
จากกฎหมาย (RIA Guidelines) ซึ่งเป็นแนวทางที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายกำหนด
โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีตามนัยมาตรา 7 และ 17 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์
การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และคู่มือการจัดทำ
รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (RIA Handbook) ซึ่งจัดทำโดย
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่ยังไม่มีความชัดเจนนักว่าเอกสารเหล่านั้นกำหนด
2
1 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 132 ก หน้า 7 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562
2 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, “การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย” <www.
krisdika.go.th/article77> เข้าถึงเมื่อ 9 กันยายน 2564.
สถาบันพระปกเกล้า
2