Page 15 - kpiebook65010
P. 15

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               รายละเอียดไว้เหมาะสมและเพียงพอตลอดจนสอดคล้องกับหลักการวิเคราะห์ผลกระทบที่มี
               การดำเนินการตามหลักสากลหรือไม่ เพียงใด นอกจากนี้หากสำรวจองค์ความรู้ในทางวิชาการ

               ที่มีการเผยแพร่สู่สาธารณชนในประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 9 กันยายน 2564) พบว่ายังไม่มีงาน
               ศึกษารายละเอียดว่าจะมีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในฐานะส่วนหนึ่งของการทำ RIA

               อย่างไร

                    เพื่อตอบสนองข้อจำกัดและความจำเป็นในการสร้างองค์ความรู้ดังกล่าว โครงการวิจัยนี้
               จึงมุ่งศึกษา แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบ ที่มีการดำเนินการในต่างประเทศเพื่อ

               ถอดบทเรียนการวิเคราะห์ผลกระทบในด้านสังคมที่มีการดำเนินการในต่างประเทศเพื่อสร้าง
               องค์ความรู้ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดแนวทางพิจารณาการวิเคราะห์ผลกระทบในประเทศไทย

               เนื่องจากการศึกษาผ่านประสบการณ์และแนวทางดำเนินการในต่างประเทศย่อมมีความสำคัญต่อ
               การสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินการในประเทศไทย

                    รายงานการศึกษานี้ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของโครงการศึกษาวิจัยแบ่งออกเป็น 6 บท โดยบทที่ 1

               นำเสนอบทนำและกรอบการศึกษา บทที่ 2 นำเสนอการวิเคราะห์ผลกระทบในกฎหมายปัจจุบัน
               บทที่ 3 นำเสนอการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมายในระดับสากลผ่านตัวอย่าง

               การดำเนินการของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (EU) และกลุ่มประเทศความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ
               และการพัฒนา (OECD) บทที่ 4 นำเสนอตัวอย่างการดำเนินการในสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์
               เนเธอร์แลนด์ และนิวซีแลนด์ บทที่ 5 ถอดบทเรียนสู่การวิเคราะห์กรณีศึกษาในบริบทประเทศไทย

               และบทที่ 6 สรุปข้อค้นพบต่าง ๆ จากการศึกษา 5 บทแรกในรูปของคู่มือสำหรับการวิเคราะห์
               ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย โดยอาจสรุปบรรดาข้อค้นพบที่สำคัญที่ได้จากการศึกษา

               และปรากฏในบทที่ 2 ถึงบทที่ 5 ได้ดังต่อไปนี้

               สถานะปัจจุบันของการวิเคราะห์ผลกระทบในกฎหมายไทย (บทที่ 2)

                    บทนี้นำเสนอหลักเกณฑ์และวิธีการการวิเคราะห์ผลกระทบในกฎหมายไทยเพื่อชี้ให้เห็นถึง

               สถานะปัจจุบัน (status quo) ของหลักการและแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่ปรากฏ
               ในกฎหมายไทย โดยหัวข้อหลักของการนำเสนอในบทนี้ประกอบด้วย หลักการในภาพรวมของ

               การวิเคราะห์ผลกระทบในกฎหมายไทย หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบ รายละเอียด
               แนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบในรายงาน RIA ตัวอย่างการวิเคราะห์ผลกระทบในการตรา
               กฎหมาย และสรุปข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบในกฎหมายไทย

               ปัจจุบัน



                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                      3
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20