Page 17 - kpiebook65010
P. 17
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
และคำแนะนำของหน่วยงานหรือองค์กรที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยเฉพาะเอกสาร
เผยแพร่ของ OECD และ EU โดยจะเน้นไปที่การนำเสนอแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบทาง
สังคมเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดทำกฎหมายและนโยบาย โดยมุ่งนำเสนอว่าเอกสาร
ที่เกี่ยวข้องได้กำหนดขอบเขตความหมายและรายละเอียดดำเนินการเกี่ยวกับการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมายเอาไว้หรือไม่ เพียงใดและอย่างไร
ข้อค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบได้ข้อสรุปว่าหลังปี 2553
เป็นต้นมา ไม่มีการกำหนดแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมภายใต้แนวทางของ
EU และ OECD อย่างเป็นเอกเทศแต่ถือว่าการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมเป็นส่วนหนึ่งของ
กลไกการวิเคราะห์ผลกระทบหลาย ๆ ด้านในภาพรวม โดยกำหนดแนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทั้งในเชิงหลักการและในรายละเอียดไว้ ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางพัฒนาระบบ
การวิเคราะห์ผลกระทบของไทยได้ นอกจากนี้ยังมีการกำหนดตัวอย่างผลกระทบแต่ละด้านที่อาจ
ถือเป็นการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมได้ เช่น ด้านความเท่าเทียมทางเพศ ด้านสิ่งแวดล้อม
และด้านสุขภาพ เป็นต้น แนวทางการวิเคราะห์ฯ ที่มีการใช้ใน EU และแนวทางตามคำแนะนำของ
OECD มีลักษณะโครงสร้างและวิธีคิดในทำนองเดียวกัน แต่แนวทางของ EU มีความละเอียดและ
เฉพาะเจาะจงมากกว่าโดยมุ่งนำมาใช้วิเคราะห์ผลกระทบในการออกนโยบายและตรากฎหมายของ
EU เอง ในขณะที่ของกลุ่ม OECD วางหลักการอย่างหลวม ๆ เพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศต่าง ๆ
นำแนวคิดไปปรับใช้ตามความเหมาะสมในบริบทประเทศของตน
แนวทาง วิธีการและตัวอย่างการดำเนินการเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบ
ทางสังคมในต่างประเทศ (บทที่ 4)
บทที่ 4 นำเสนอแนวทาง วิธีการ และตัวอย่างการดำเนินการเกี่ยวกับการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมที่มีการดำเนินการในประเทศสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ และ
นิวซีแลนด์ ซึ่งเหตุผลในการเลือกประเทศเหล่านี้มากำหนดตัวอย่างการศึกษาก็เนื่องจากทั้ง
สี่ประเทศได้รับอิทธิพลในการทำ RIA จากแนวคิดของ EU และ OECD ในขณะเดียวกันทั้ง
สี่ประเทศก็มีการปรับปรุงระบบการทำ RIA มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการทำความเข้าใจตัวอย่าง
การดำเนินของประเทศเหล่านี้จะช่วยให้เกิดความเข้าใจแนวทางการทำ RIA ที่มีหลักการในทาง
ระหว่างประเทศและตามประสบการณ์ดำเนินการของแต่ละประเทศไปในทิศทางเดียวกัน
๏ ข้อค้นพบสำคัญที่อาจกล่าวสรุปเพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาแนวทางและวิธี
การวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมจากกฎหมายของประเทศไทยประกอบด้วย
สถาบันพระปกเกล้า
5