Page 18 - kpiebook65010
P. 18
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
๏ แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ของประเทศส่วนใหญ่ไม่ได้ปรากฏในเอกสารที่มีสภาพ
บังคับทางกฎหมาย แต่มักปรากฏในคู่มือหรือคำแนะนำที่ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย
(non-binding instruments)
๏ แต่ละประเทศไม่ได้กำหนดแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมเป็น
การเฉพาะและไม่ได้แยกการวิเคราะห์แง่มุมดังกล่าวออกจากการวิเคราะห์ด้านอื่น ๆ
อย่างเด่นชัด หากแต่ใช้แนวทางการวิเคราะห์ในลักษณะรวม ๆ กันไป อย่างไรก็ตาม
แต่ละประเทศได้กำหนดแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมเฉพาะด้าน
เช่น การวิเคราะห์ผลกระทบด้านความเท่าเทียมทางเพศ (gender impact
assessment) ในเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น
๏ การศึกษาบทเรียนจากทุกประเทศได้ข้อสรุปว่าควรมีการวิเคราะห์ผลกระทบในเชิง
ปริมาณ (quantitative analysis) ให้มากเท่าที่จะมากได้ หากไม่สามารถทำได้ก็ค่อยใช้
การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (qualitative analysis)
๏ หลักการวิเคราะห์อย่างได้สัดส่วน (principle of proportionate analysis) เป็นกลไก
สำคัญของการกำหนดขอบเขตและระดับการวิเคราะห์ผลกระทบที่หลายประเทศใช้เป็น
หลักการพื้นฐานในการวิเคราะห์ ในขณะเดียวกันบางประเทศได้กำหนดปัจจัยที่ต้อง
พิจารณา (mandatory requirements) มาเป็นเครื่องมือประกอบการวิเคราะห์
ผลกระทบเพิ่มด้วย
๏ แต่ละประเทศมีแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบแตกต่างกันทั้งในแง่ขั้นตอน
ดำเนินการและความละเอียดของแนวทาง (guidelines) และตัวอย่างการวิเคราะห์
ผลกระทบ โดยไม่ได้มีการกำหนดตายตัวว่าการวิเคราะห์ต้นทุนใดจะต้องใช้แนวคิดหรือ
model ใดเป็นฐานในการคำนวณ โดยสหราชอาณาจักรเป็นตัวอย่างของประเทศที่มี
การกำหนดหลักการคำนวณหรือประเมินผลกระทบเป็นตัวเลขอย่างละเอียดมากที่สุด
ในบรรดาประเทศต่าง ๆ ที่มีการศึกษาเปรียบเทียบ
๏ ไม่มีการกำหนดบังคับว่าจะต้องใช้วิธีการวิเคราะห์และเก็บข้อมูลโดยวิธีการใด อย่างไร
ก็ตามประเทศส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์โดยเทคนิควิธีแบบ cost-benefit
analysis (CBA) เป็นฐานตั้งต้นในการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมด้วย อย่างไรก็ตาม
อาจใช้เทคนิคดำเนินการอย่างอื่นตามความเหมาะสม เช่น cost-effectiveness
analysis (CEA) และ multi-criteria analysis
สถาบันพระปกเกล้า
6