Page 19 - kpiebook65010
P. 19
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
ถอดบทเรียนสู่การวิเคราะห์กรณีศึกษาในบริบทประเทศไทย (บทที่ 5)
ข้อค้นพบที่สำคัญที่เป็นการถอดบทเรียนสู่การวิเคราะห์กรณีศึกษาในบริบทประเทศไทย
ในบทที่ 5 นี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ข้อค้นพบจากการศึกษาเปรียบเทียบและข้อค้นพบที่จัดทำ
เป็นกรณีศึกษาสามกรณีซึ่งวิเคราะห์ผลกระทบในบริบทของประเทศไทย
ส่วนแรกนำเสนอแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในภาพรวมโดย
เปรียบเทียบแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบในประเทศไทยกับแนวทางและวิธีการ
วิเคราะห์ผลกระทบตามแนวทางของ EU และแนวทางของ 4 ประเทศ เพื่อชี้ให้เห็นว่าประเด็น
เรื่องใดบ้างที่ไทยอาจนำประสบการณ์และการแก้ปัญหาของต่างประเทศมาปรับใช้เพื่อให้แนวทาง
และวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบของไทย โดยเฉพาะในมิติด้านสังคมมีความละเอียดและสมบูรณ์
มากขึ้น โดยมีประเด็นที่ทำการเปรียบเทียบและอภิปรายผลทั้งหมด 12 ประเด็น ประกอบด้วย
1. มีกฎหมายกำหนดแนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบหรือไม่
2. กฎเกณฑ์ประเภทใดบ้างที่อยู่ในบังคับต้องทำ RIA
3. มีการจำแนกประเภทร่างข้อเสนอทางกฎหมาย/นโยบายที่ต้องทำ RIA หรือไม่ (RIA
screening)
4. มีการจำแนกประเภทหรือกำหนดขอบเขตของผลกระทบหรือกำหนดตัวอย่างที่ต้อง
วิเคราะห์หรือไม่
5. มีการกำหนดขั้นตอนย่อย ๆ และแนวทางของขั้นตอนย่อยของการวิเคราะห์ผลกระทบ
หรือไม่
6. มีการกำหนดแนวทางเฉพาะของการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมหรือไม่
7. มีการกำหนดให้ต้องวิเคราะห์ในเชิงปริมาณหรือไม่ และเน้นการวิเคราะห์เชิงปริมาณหรือ
เชิงคุณภาพ
8. มีการกำหนดเทคนิควิเคราะห์หรือไม่ หากมี เทคนิคใดเป็นเทคนิคหลักที่พึงใช้
9. มีการกำหนดเงื่อนไขที่ต้องพิจารณาประกอบการวิเคราะห์หรือไม่
10. มีการกำหนดให้วิเคราะห์เรื่องภาระการปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่
สถาบันพระปกเกล้า
7