Page 16 - kpiebook65010
P. 16

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





                    ข้อค้นพบที่สำคัญในบทนี้ ได้แก่ ข้อสรุปว่า RIA ได้รับการบัญญัติไว้ในกฎหมายเป็น
               การเฉพาะแล้ว ได้แก่ พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์

               ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ส่วนในรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และขั้นตอนการวิเคราะห์
               ผลกระทบนั้น กฎหมายฉบับดังกล่าวได้บัญญัติรายละเอียดที่จะต้องดำเนินการในภาพรวมและ

               มีการกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมอีกชั้นหนึ่งใน RIA Guidelines ส่วนแนวทางการวิเคราะห์
               ผลกระทบนั้น มีการกำหนดแนวทางในภาพรวมเช่นกันในแบบแนบท้ายของ RIA Guidelines
               (หัวข้อที่ 6 หัวข้อที่ 7 และหัวข้อที่ 8) ในขณะเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาก็ได้

               กำหนดแนวทางเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบใน RIA Handbook ซึ่งหน่วยงานของรัฐที่
               จัดทำร่างกฎหมายและทำรายงาน RIA ก็ยึดถือแนวทางที่ปรากฏใน RIA Guidelines และ RIA

               Handbook ในการจัดทำ อย่างไรก็ตาม การทำรายงาน RIA ของร่างกฎหมายตามแนวทางของ
               สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกานั้นเน้นไปที่การทำรายงานเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบ “เฉพาะที่จะ
               เกิดจากทางเลือกทางกฎหมายตามร่างกฎหมาย” กล่าวคือ RIA Handbook มุ่งให้มีการวิเคราะห์

               ทางเลือกทางกฎหมาย จึงไม่ได้กล่าวถึงผลการตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมายที่มี
               การวิเคราะห์ผลกระทบของทางเลือกอื่น ๆ ด้วย


                    นอกจากนี้ ในส่วนของ “วิธีการวิเคราะห์ผลกระทบ”  นั้น แม้แนวทางใน RIA Handbook
               จะแนะนำให้วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณเท่าที่จะทำได้ แต่ยังไม่มีการกำหนด
               รายละเอียดการดำเนินการเอาไว้ว่าจะต้องใช้วิธีการใดเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล โดยหลายหน่วยงาน

               มักจะทำการวิเคราะห์ผลกระทบโดยนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพ (เชิงบรรยาย) เป็นหลัก โดยไม่ได้
               แสดงผลกระทบในเชิงตัวเลข


                    ในขณะเดียวกันใน RIA Guidelines และ RIA Handbook ซึ่งจัดทำและเผยแพร่โดย
               สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกายังไม่ได้วางหลักการเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบเฉพาะด้าน เช่น
               ผลกระทบทางสังคมและผลกระทบทางเศรษฐกิจเอาไว้อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นข้อที่น่าพิจารณา

               ต่อไปว่าจะสามารถศึกษาหลักการในระดับสากลและตัวอย่างการกำหนดวิธีการวิเคราะห์
               ผลกระทบจากประเทศอื่นเพื่อกำหนดรายละเอียดเหล่านี้ให้มีความชัดเจนเพิ่มขึ้นอีกได้หรือไม่

               เพียงใด

               การวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมายในระดับสากล (บทที่ 3)

                    บทที่ 3 นำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรา

               กฎหมายในระดับสากลโดยพิจารณาจากองค์ความรู้ที่ปรากฏในตราสารระหว่างประเทศ แนวทาง



                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                      4
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21