Page 192 - kpiebook65010
P. 192
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
pornography) และการคุกคามทางเพศ (sexual harassment) อาจจะก่อให้เกิดผลที่ร้ายแรง
และส่งผลยาวนานต่อเหยื่อ ซึ่งประมวลกฎหมายอาญายังขาดความชัดเจนในการกำหนดความผิด
ที่เกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศ โดยการกระทำที่ก่อความรุนแรงทางเพศและการข่มขืน
ในประมวลกฎหมายอาญาไม่สอดคล้องกับมุมมองปัจจุบันเกี่ยวกับการแตะเนื้อต้องตัวด้วยแรงจูงใจ
ทางเพศด้วยความไม่สมัครใจ นอกจากนี้ยังไม่มีการกำหนดความผิดและโทษอย่างเป็นเอกเทศ
สำหรับการกระทำที่เป็นการก่อเหตุทางเพศออนไลน์ และการพูดคุยเรื่องที่มีลักษณะเป็นการก่อเหตุ
ทางเพศต่อเด็ก ดังนั้น จึงควรมีการกำหนดความผิดและโทษที่เกี่ยวกับความผิดทางเพศที่ทันต่อ
เหตุการณ์และเหมาะสม
4. การนำเสนอร่างกฎหมายนี้เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด
ร่างกฎหมายนี้มุ่งที่จะให้เกิดการกำหนดความผิดอาญาสำหรับการกระทำ
ที่เกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศที่ทันต่อยุคสมัยดิจิทัลในปัจจุบันโดยมีการกำหนดความผิดทาง
เพศลักษณะใหม่เพิ่มเข้าไปด้วย อันรวมถึงการคุกคามทางเพศและการพูดคุยเรื่องที่มีลักษณะ
เป็นการก่อเหตุทางเพศต่อเด็ก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าพนักงานในการดำเนินคดีอาญา เช่นเดียวกับ
ผู้ที่ถูกกระทำในทางเพศที่จะได้รับความคุ้มครองมากขึ้น นอกจากนี้ การกำหนดความผิดและโทษ
ใหม่ถือเป็นการส่งสัญญาณไปยังบุคคลที่อาจเป็นผู้ล่วงละเมิดทางเพศว่าการกระทำที่เป็น
การล่วงละเมิดทางเพศไม่ใช่สิ่งที่ยอมรับได้ ดังนั้น ร่างกฎหมายนี้จึงมีความสำคัญทั้งในแง่การวาง
ปทัฏฐานใหม่และการป้องปรามมิให้เกิดการกระทำผิด
5. เหตุใดรัฐบาลจึงมีความชอบธรรมในการเข้ามากำหนดมาตรการแทรกแซง
ในเรื่องนี้
การกรำหนดมาตรการแทรกแซงของรัฐเป็นสิ่งที่ยอมรับได้เนื่องจากความผิด
เกี่ยวกับเพศที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของสังคมอีกต่อไป
6. เครื่องมือใดที่มีความเหมาะสมที่สุดในการจัดการกับปัญหา
เพื่อกำหนดฐานความผิดใหม่และกำหนดโทษที่เหมาะสมจำเป็นต้องมี
การตรากฎหมายใหม่ (แก้ไขกฎหมายปัจจุบัน) ซึ่งเป็นไปตามหลักการที่ 7 ของอนุสัญญายุโรป
ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (European Convention on Human Rights: ECHR) และมาตรา 16 แห่ง
รัฐธรรมนูญรวมทั้งมาตรา 1 ของประมวลกฎหมายอาญาซึ่งวางหลักกำหนดให้กฎหมายต้อง
กำหนดว่าการกระทำใดเป็นความผิดและถูกลงโทษได้
สถาบันพระปกเกล้า
180