Page 194 - kpiebook65010
P. 194

แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
                                        ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย





               ไฟฟ้า ค.ศ. 1998 โดยมีการกำหนดหลักการใหม่ที่ทันต่อยุคสมัยมากขึ้นเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่าน
               ด้านพลังงานอันจะนำมาซึ่งการใช้ลพังงานสะอาดที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาน้อย

               ได้มาซึ่งพลังงานที่ปลอดภัย มีความมั่นคงแน่นอน เข้าถึงได้

                            2.  บุคคลใดที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับร่างกฎหมายนี้บ้าง


                              เนื่องจากร่างกฎหมายนี้มุ่งที่จะจัดวางระบบตลาดไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ
               จึงทำให้มีบุคคลที่จะได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก เช่น ผู้ใช้พลังงานทอดสุดท้าย หน่วยบริหาร
               จัดการระบบ ผู้ผลิตและจัดหาพลังงานในตลาด บริษัทตรวจวัดการใช้พลังงาน หน่วยงานส่วนท้องถิ่น

               เป็นต้น

                            3.  ปัญหาใดบ้างที่ทำให้ต้องมีการเสนอกฎหมายนี้


                              นำเสนอข้อจำกัดในแง่แนวคิดและกลไกรองรับของกฎหมายที่ใช้อยู่ใน
               ปัจจุบันอันได้แก่ พระราชบัญญัติก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้า ค.ศ. 1998 โดยเฉพาะการสร้างและ

               เปิดเสรีตลาดพลังงานภายในประเทศภายใต้การยึดค่าหลัก 3 ประการ ได้แก่ ความแน่นอน
               เชื่อถือได้ (reliability) ความสามารถเข้าถึงในทางเศรษฐกิจได้อย่างถ้วนทั่ว (affordability) และ
               ความมั่นคงปลอดภัย (security) ของพลังงานที่จะนำมาใช้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีการยอมรับ

               คุณค่าอื่นเพิ่มเข้ามาด้วย อันได้แก่ ประการที่หนึ่ง การให้ความสำคัญกับพลังงานที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ
               และไม่ส่งผลต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (low-emission and climate-neutral

               energy supply) และประการที่สอง การให้ความสำคัญกับระบบพลังงานในนโยบายเชิงพื้นที่
               (integration of the energy system into broader spatial policy) ซึ่งปัจจัยใหม่ทั้งสองส่วนนี้
               มีผลอย่างสำคัญต่อการประกอบกิจการพลังงานในตลาดพลังงานอย่างมาก และเมื่อไม่มีกรอบ

               ดำเนินการทางกฎหมายรองรับจึงมีความจำเป็นต้องมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย

                            4.  การนำเสนอร่างกฎหมายนี้เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด


                              ร่างกฎหมายนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวางกลไกเชิงวางแผนที่ทันต่อเหตุการณ์
               มีการบูรณาการและคำนึงถึงอนาคตของตลาดก๊าซธรรมชาติที่ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านแนวคิด

               ด้านพลังงาน (energy transition) ให้สอดคล้องกับนโยบายหลักด้านพลังงานของประเทศ
               ในการส่งเสริมพลังงานที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ ในขณะเดียวกันก็มุ่งที่จะคงไว้ซึ่งองค์กรต่าง ๆ ที่มี
               การดำเนินการในตลาดพลังงาน แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงในด้านกลไกหลายด้านเพื่อให้เกิด

               การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่การใช้พลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพ



                                                สถาบันพระปกเกล้า

                                                     182
   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199