Page 197 - kpiebook65010
P. 197
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
4.4. นิวซีแลนด์
4.4.1 แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดทำ RIA
จากรายงานของ OECD ในปี 2015 พบว่า การจัดทำ RIA และการรับฟังการคิดเห็น
292
นั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดทำนโยบายในประเทศนิวซีแลนด์ และเป็นการให้ข้อมูลแก่
คณะรัฐมนตรีเพื่อใช้ประกอบเป็นข้อพิจารณาในการกำหนดนโยบาย โดยหน่วยงานหลักที่กำหนด
แนวทางและแบบฟอร์มสำหรับ RIA คือ กระทรวงการคลัง (Treasury) ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินว่า
ข้อเสนอในการออกกฎระเบียบนั้นเป็นผลกระทบที่เป็นนัยยะสำคัญหรือไม่ด้วย ทั้งนี้ เอกสาร
ของคณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการใดที่มีข้อเสนอทางนโยบายอยู่ด้วยจะต้องมีรายงาน RIA
ประกอบมาเป็นภาคส่วนหนึ่งในเอกสารนั้น โดยนอกจากคำประกาศที่ระบุว่ามีการจัดทำ RIA
ประกอบมาในเอกสารดังกล่าวหรือไม่แล้ว ยังต้องมีการแสดงความเห็นเกี่ยวกับคุณภาพของ
บทวิเคราะห์ใน RIA นั้นด้วย นอกจากนี้ ใน RIA ยังต้องจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น
อีกด้วย ซึ่งแม้ไม่ใช่มาตรการบังคับในทางกฎหมาย แต่ก็ถือเป็นนโยบายหลักและเป็นหัวข้อหนึ่ง
ที่ใช้ในการประเมินคุณภาพของ RIA ด้วย ดังนั้น จึงต้องมีการระบุว่าการจัดทำ RIA นั้น หน่วยงาน
ที่จัดทำได้มีการรับฟังความเห็นจากใครบ้าง มีรูปแบบของการรับฟังความคิดเห็นอย่างไร และ
ความคิดเห็นที่ได้รับกลับมานั้นเป็นเช่นไรบ้าง โดยเฉพาะในประเด็นที่เป็นข้อกังวลที่สำคัญต่อทาง
เลือกที่จะนำมาใช้ (preferred option) และตัวข้อเสนอได้มีการปรับเปลี่ยนตามข้อกังวลเช่นว่านั้น
อย่างไรบ้าง (หากไม่ได้มีการปรับเปลี่ยน ต้องชี้แจงด้วยว่าเพราะเหตุใด) หาก RIA นั้นไม่ได้มี
การรับฟังความคิดเห็น ต้องระบุว่าเพราะเหตุใดจึงไม่ทำ
ในรายงานล่าสุดของปี 2018 นิวซีแลนด์ได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายเกี่ยวกับ
293
การออกกฎระเบียบไปหลายประการ เนื่องจากการนำเอานโยบายที่เรียกว่า Regulatory
Stewardship มาใช้กับระบบว่าด้วยการออกกฎระเบียบทั้งหมดในทุกขั้นตอน โดยมีการนำเอา
แนวคิดว่าด้วยการให้ความสำคัญกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือระหว่างประเทศ
เพื่อลดความแตกต่างกันระหว่างกฎระเบียบที่ใช้ในแต่ละประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศคู่ค้า
ที่สำคัญอย่างออสเตรเลีย ในการนี้ คู่มือการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีจึงได้มีการปรับแก้ให้
หน่วยงานต่าง ๆ ปรับใช้กระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียในลักษณะที่มี
ความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยกระตุ้นให้หน่วยงานใช้วิธีการสร้างความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับ
292 OECD Regulatory Policy Outlook 2015 (n 1).
293 OECD Regulatory Policy Outlook 2018 (n 2).
สถาบันพระปกเกล้า
185