Page 189 - kpiebook65010
P. 189
แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย
๏ ปัญหาเกี่ยวกับการลงทะเบียนและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
ตามหลักว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (GDPR) เนื่องจาก
ไม่มีกฎหมายให้อำนาจหน่วยงานผู้ให้บริการทางการแพทย์ต้องนำส่ง
ข้อมูลส่วนบุคคลด้านการรักษาไปยังฝ่ายรับลงทะเบียนและฝ่าย
ประมวลผลข้อมูล ซึ่งหากไม่มีกฎหมาย ผู้ให้บริการทางการแพทย์
ย่อมไม่นำส่งข้อมูลเพราะขัดกับการรักษาความลับทางการแพทย์
๏ ไม่มีกฎหมายให้อำนาจฝ่ายรับลงทะเบียนและฝ่ายประมวลผลข้อมูล
ในการประมวลผลข้อมูลดังกล่าว
4. การนำเสนอร่างกฎหมายนี้เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด
ร่างกฎหมายนี้มุ่งที่จะกำหนดให้การจัดเก็บและลงทะเบียนข้อมูล
โดยหน่วยลงทะเบียนด้านการรักษามีความเป็นระบบ โดยให้หน่วยลงทะเบียนข้อมูลและ
หน่วยประเมินผลข้อมูลสามารถจัดเก็บและประมวลข้อมูลนั้นได้ เพื่อให้เกิดการจัดเก็บข้อมูล
ที่มีคุณภาพโดยยึดประโยชน์ของผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
5. เหตุใดรัฐบาลจึงมีความชอบธรรมในการเข้ามากำหนดมาตรการแทรกแซง
ในเรื่องนี้
เนื่องจากรัฐบาลมีหน้าที่จัดให้มีระบบการให้บริการด้านสุขภาพที่ดี เข้าถึง
ได้แก่ประชาชนทุกคนจึงจำเป็นต้องมีระบบการลงทะเบียนข้อมูลที่มีคุณภาพ รวมทั้งสร้างระบบ
ข้อมูลที่มีการปกปิดตัวตนที่น่าเชื่อถือและตรวจสอบได้ และเนื่องจากรัฐเป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่
ในการวางระบบการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายซึ่งหากรัฐละเลยที่จะทำหน้าที่ดังกล่าว
ย่อมไม่สามารถทำให้เกิดระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพได้จริง
6. เครื่องมือใดที่มีความเหมาะสมที่สุดในการจัดการกับปัญหา
มีความจำเป็นต้องใช้กฎหมายในการดำเนินการเรื่องนี้เนื่องจาก GDPR
กำหนดให้ต้องมีฐานทางกฎหมายรองรับการจัดเก็บข้อมูลพิเศษที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลหากจะมี
การนำข้อมูลมาใช้โดยไม่ขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล รวมทั้งหากจะมีการนำข้อมูลมาจาก
ผู้ให้บริการทางการแพทย์โดยไม่ขัดกับหลักการรักษาความลับ
สถาบันพระปกเกล้า
177