Page 15 - kpiebook65020
P. 15
i
บทสรุปผู้บริหาร
มาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ก าหนดให้มีการตรวจสอบความ
จ าเป็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย อันมีที่มาจากแนวคิดเรื่องการประเมินผลกระทบของ
กฎหมาย (Regulatory Impact Assessment หรือ RIA) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้ในการตรวจสอบและประเมินผล
กระทบที่จากการออกกฎหมาย เพื่อพัฒนากระบวนการและคุณภาพของกฎหมายโดยให้ความส าคัญกับการ
วิเคราะห์ทางเลือกอื่นในการแก้ไขปัญหานอกจากการตรากฎหมาย รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วม
ในการแสดงความเห็นในการจัดท ากฎหมายนั้น เพื่อลดการมีกฎหมายโดยไม่จ าเป็น และป้องกันมิให้มีการออก
กฎหมายที่เป็นการสร้างภาระหรือสร้างขั้นตอนเกินความจ าเป็นให้แก่ประชาชนและการด าเนินการของรัฐ ทั้งนี้
หลักการดังกล่าวได้ถูกน ามาบัญญัติเป็นหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่าง
กฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มาบังคับการให้เป็นไปตาม
เจตนารมณ์ของมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
การวิเคราะห์ผลกระทบของการตรากฎหมายตามหลักการของมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผล
สัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 นั้น สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อการระบบตรากฎหมายของประเทศไทยใน
วงกว้าง กล่าวคือ ในปัจจุบันนี้ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับจะต้องมีการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรา
กฎหมาย โดยต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย
และต้องเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และน ามาประกอบการพิจารณาใน
กระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอนด้วย นอกจากนี้ จะต้องมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายที่ใช้บังคับแล้ว
ทุก 5 ปี โดยรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย อันจะท าให้กฎหมายมีความทันสมัยและเหมาะสม
กับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
อย่างไรก็ดี การตรวจสอบความจ าเป็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายถือเป็นเรื่องใหม่
ส าหรับประเทศไทยซึ่งยังขาดองค์ความรู้และประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าว อีกทั้งผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการ
นิติบัญญัติ หน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาชนยังไม่มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวดีพอ ด้วยเล็งเห็น
ถึงความส าคัญของการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย ส านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบัน
พระปกเกล้า จึงได้มอบหมายให้ส านักงานศูนย์วิจัยและให้ค าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดท า
โครงการ “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย” โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการด าเนินการตรวจสอบความจ าเป็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
จากกฎหมาย และน ามาจัดท าเป็นกรณีศึกษาและสื่อการเรียนการสอนตามหลักสูตรวุฒิบัตรการวิเคราะห์การ
ตรากฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย และพัฒนาเป็นคู่มือส าหรับผู้ที่ต้องการจัดท าหรือ
ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
ในการนี้ คณะผู้วิจัยจึงได้ด าเนินการศึกษาวิจัยใน 3 ส่วน ได้แก่ (1) ส ารวจองค์ความรู้และทบทวน
บทเรียนการด าเนินการตรวจสอบความจ าเป็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายของประเทศ
ต่าง ๆ โดยครอบคลุมประเด็นส าคัญ ได้แก่ ความหมายและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการออกกฎหมาย
(Regulatory Theory) นิติเศรษฐศาสตร์ (Law and Economics) หลักเกณฑ์ตรวจสอบความจ าเป็นในการ
ตรากฎหมายตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย