Page 16 - kpiebook65020
P. 16

ii


               พ.ศ. 2562 การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์และทางสังคม  การจัดท ารายงานผลการวิเคราะห์ และ
               การตรวจสอบเนื้อหาในการตรากฎหมาย (2) น าองค์ความรู้ที่ได้มาจัดท าเป็นกรณีศึกษาและสื่อการเรียนการ

               สอนโดยทดลองใช้ในหลักสูตรวุฒิบัตรการวิเคราะห์การตรากฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
               ของส านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า (3) น าองค์ความรู้ที่ได้และผลการศึกษาจากการ
               ทดลองใช้กรณีศึกษาและสื่อการเรียนการสอนดังกล่าวข้างต้นมาพัฒนาเป็นคู่มือส าหรับการตรวจสอบความ
               จ าเป็นในการตรากฎหมาย

                       การด าเนินการดังกล่าวได้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการศึกษาวิจัย เรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือ

               ส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”  ทุกประการ ดังที่คณะผู้วิจัยจะรายงานสรุปผล
               การศึกษาดังต่อไปนี้



               1. การส ารวจองค์ความรู้และทบทวนบทเรียนการด าเนินการตรวจสอบความจ าเป็นและวิเคราะห์
               ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย

                       คณะผู้วิจัยได้ด าเนินการส ารวจองค์ความรู้และทบทวนบทเรียนการด าเนินการตรวจสอบความจ าเป็น
               และวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

                       1.1 ความรู้พื้นฐานว่าด้วยการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายและการวิเคราะห์

               ผลกระทบร่างกฎหมาย

                       การวิเคราะห์ผลกระทบในการตรากฎหมายหรือมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปหลายประเทศ เช่น
               Regulatory  Impact  Assessment  (RIA)  ในกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ หรือ Impact  Assessment  (IA)
               ในกลุ่มสหภาพยุโรป RIA  เป็นหนึ่งในวิเคราะห์การใช้กฎเพื่อแก้ปัญหาภาวะตลาดล้มเหลวและภาวะกฎ
               ล้มเหลว RIA จึงเป็นระบบในการตรวจสอบร่างกฎหรือกฎหมายที่จะส่งผลถึงผู้คนบางกลุ่มหรือมีผลกระทบต่อ

               มิติบางมิติของสังคมโดยจะเป็นมิติใดบ้างขึ้นอยู่กับการให้ความหมายในแต่ละประเทศแต่โดยทั่วมักจะรวมถึง
                                                                                1
               มิติทางเศรษฐกิจ สังคม เพศ สุขภาพ สิ่งแวดล้อมและการกระจายรายได้ของรัฐ
                       องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization  for  Economic  Co-
               operation and Development: OECD) ได้ให้ความหมายของ RIA ว่าเป็นกระบวนที่ใช้ระบุและประเมินผล
               กระทบจากการออกกฎอย่างเป็นระบบ โดยต้องมีการใช้วิธีการในการวิเคราะห์  เช่น การวิเคราะห์ต้นทุน

               อย่างต่อเนื่อง โดย RIA  นั้นคือกระบวนการเปรียบเทียบระหว่างเป้าหมายที่รัฐต้องการแทรกแซงกับนโยบาย
               ทางเลือกต่าง ๆ ที่ใช้ในการบรรลุเป้าหมายนั้น นโยบายทางเลือกทั้งหมดนั้นต้องถูกวิเคราะห์ประเมินด้วย
               วิธีการเดียวกันและผู้ออกกฎต้องทราบถึงผลการวิเคราะห์ทั้งหมดก่อนจะตัดสินอย่างเป็นระบบเพื่อเลือกเฟ้น
                                 2
               หานโยบายที่มีดีที่สุด  กล่าวโดยย่อ RIA    คือ กระบวนการวิเคราะห์ถึงประสิทธิภาพและความคุ้มทุนในการ
               ออกกฎ RIA เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจอย่างเป็นระบบถึงประสิทธิภาพและความจ าเป็นในการออกกฎ
               ดังนั้น ผลของการประเมิน RIA อาจไม่ได้น าไปสู่ข้อสรุปของการออกหรือไม่ออกกฎใดกฎหนึ่งโดยตรง แต่เพียง



               1
                 Claire Dunlop and Claudio Radaelli, Handbook of Regulatory Impact Assessment, (Cheltenham: Edward
               Elgar Publishing, 2016 ), p.14.
               2
                 “Introductory Handbook for Undertaking Regulatory Impact Analysis (RIA),” OECD, (2008) accessed 8
               September 2020, from  https://www.oecd.org/gov/regulatory-policy/4478 94 72.pdf, p.3.
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21