Page 20 - kpiebook65020
P. 20

vi


               เลือกนโยบายที่มีต้นทุนในการปฏิบัติตามต่ าที่สุดหรือน าตัวเลขที่ค านวณได้มาใช้เป็นข้อมูลประกอบการ
                                                                                                   8
               ตัดสินใจเลือกนโยบายที่มีความสอดคล้องกับการแก้ปัญหาและไม่สร้างภาระให้กับประชาชนมากเกินไป
                              1.3.2 เทคนิคการประเมินผลกระทบทางสังคม (Social Impact Assessment: SIA)

                              การวิเคราะห์หรือการประเมินผลกระทบทางสังคม (SIA)  เป็นการศึกษาถึงผลกระทบทาง

               สังคมของการด าเนินการตามโครงการต่าง ๆ  โดย SIA  จะคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและคุณภาพ
               ชีวิตที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะในทางบวกหรือทางลบ พร้อมทั้งน าเสนอมาตรการในการลดผลกระทบทางสังคมในแง่
               ลบ เพื่อประกอบการพิจารณาทางเลือกและปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสังคม และให้เกิดประโยชน์ต่อ
               ส่วนรวมให้มากที่สุด เพื่อให้ตัดสินใจได้ว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเป็นที่ยอมรับได้ และคุ้มค่ากับประโยชน์ที่จะ
                    9
               ได้รับ
                                                                                       10
                              การประเมินผลกระทบทางสังคมต้องด าเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

                              ขั้นตอนที่ 1 การก าหนดปัญหา (Problem  definition)  หรือระบุปัญหาที่องค์กรต้องการ
               แก้ไข (Define  Social  Value  Proposition)  โดยเริ่มต้นจากการเขียนทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory  of
               change)  เพื่อสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมที่องค์กรจะท ากับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมาย
               (Target group) และเขียนห่วงโซ่ผลลัพธ์ (Impact Value Chain) อธิบายว่าโครงการที่ท าต้องใช้อะไรท า จะ

               ท าอะไร กิจกรรมต่าง ๆ จะสร้างและน าไปสู่ผลผลิตที่วัดผลได้อย่างไร และผลผลิตต่าง ๆ จะก่อให้เกิดการ
               เปลี่ยนแปลงหรือผลลัพธ์ทางสังคมอย่างไร

                              ขั้นตอนที่ 2 การระบุผลลัพธ์ให้เป็นตัวเลข (Quantification) เป็นการเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ที่
               เป็นนามธรรมให้เป็นค่าเชิงปริมาณโดยใช้ตัวชี้วัดทางสังคม (Social Indicators)

                              ขั้นตอนที่ 3 การเก็บข้อมูลตัวชี้วัด (Data  Collection) โดยอาจเก็บข้อมูลจากระบบเก็บ
               ข้อมูลภายใน แหล่งข้อมูลภายนอก ใช้ส าหรับผลลัพธ์ในวงกว้างเป็นหลัก หรือแบบส ารวจผู้มีส่วนได้เสีย ตาม

               ผลลัพธ์หลักที่ต้องการ

                       1.4 หลักเกณฑ์ตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมายตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การ
               จัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562

                       ตามที่มาตรา 77 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติว่า “รัฐพึงจัดให้มี
               กฎหมายเพียงเท่าที่จ าเป็นและยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจ าเป็นหรือไม่สอดคล้องกับ

               สภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการด ารงชีวิตหรือการประกอบอาชีพโดยไม่ชักช้าเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่





               8
                  ใจใส วงส์พิเชษฐ,  “Standard  Cost  Model:  แบบการค านวณภาระในการปฏิบัติตามกฎหมาย”,  กองพัฒนากฎหมาย
               ส านักงานกฤษฎีกา, (2562) สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2563,   จาก https   ://   lawreform   .go.th
               /uploads/files/1 5 2 0 3 2 7   3 6 7 -oz7 k5 -aldar.pdf?fbclid=IwAR2 3 WhntMAtCjD6 dgNlZUn8 RQXUkcdg
               EQ1NAZdOARXX_7_BSLMUZaLrZLdg.
               9
                 สุวรรษา ทองหยู, “การประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact Assessment),” (26 ธันวาคม 2562). สืบค้นเมื่อวันที่ 8
               กันยายน 2563. จาก https://social.nia.or.th/2019/article0002/.
               10
                  Schoolofchangmakers, “สรุปกิจกรรมพัฒนาวัดผลลัพธ์ทางสังคม (SIA Workshop,” (13 กรกฎาคม 2560). สืบค้นเมื่อ
               วันที่ 8 กันยายน 2563. จาก https://www.schoolofchangemakers.com/ knowledge /15788/.
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25