Page 21 - kpiebook65020
P. 21

vii


               ประชาชนและด าเนินการให้ประชาชนเข้าถึงตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและสามารถเข้าใจกฎหมาย
               ได้ง่ายเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง

                       ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบ
               ที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการ
               วิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และน ามาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน
               เมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว รัฐพึงจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายทุกรอบระยะเวลาที่ก าหนด

               โดย รับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย เพื่อพัฒนากฎหมายทุกฉบับให้สอดคล้องและเหมาะสม
               กับบริบทต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป
                       รัฐพึงใช้ระบบอนุญาตและระบบคณะกรรมการในกฎหมายเฉพาะกรณีที่จ าเป็น พึงก าหนดหลักเกณฑ์
               การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐและระยะเวลาในการด าเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย

               ให้ชัดเจน และพึงก าหนดโทษอาญาเฉพาะความผิดร้ายแรง”

                       พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ.
               2562 ถูกตราขึ้นเพื่อก าหนดหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมาย การตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย
               เพื่อให้การตรากฎหมายเป็นไปโดยละเอียดรอบคอบ ไม่สร้างภาระแก่ประชาชนเกินความจ าเป็น ตลอดจนการ
               ก าหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายภายหลังเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้วเพื่อพัฒนา

               กฎหมายให้ทันสมัยและสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการเข้าถึงกฎหมายของประชาชน เพื่อให้
                                                                                                    11
               สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ก าหนดไว้ในมาตรา 77 และมาตรา 258 ค. ด้านกฎหมาย (1) และ (3)  ของ
               รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2560 ที่มุ่งหมายในการปฏิรูปการออกกฎหมายในประเทศไทย
               ให้เหมาะกับความจ าเป็นในการตรากฎหมายในเรื่องนั้น สอดคล้องกับระบบสากล และปรับปรุงกฎหมายที่

               บังคับใช้ไปแล้วให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน

                       พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ.
               2562 ได้ก าหนดหลักเกณฑ์พื้นฐานในการหลักเกณฑ์การจัดท าร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของ
               กฎหมาย ในมาตรา 5 ไว้ว่า ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ หน่วยงานของรัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น
               ของผู้เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผย

               ผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นแก่ประชาชน และน าผลนั้นมาประกอบการพิจารณาใน
               กระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน และใช้ระบบอนุญาตและระบบคณะกรรมการเฉพาะกรณีที่จ าเป็น และ
               พึงก าหนดหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐและระยะเวลาในการด าเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ

               ให้ชัดเจน รวมทั้งพึงก าหนดโทษอาญาเฉพาะความผิดร้ายแรง



               11
                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, มาตรา 258.
                 ให้ด าเนินการปฏิรูปประเทศอย่างน้อยในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผล ดังต่อไปนี้ …
                 ค. ด้านกฎหมาย
                 (1) มีกลไกให้ด าเนินการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับต่าง ๆ ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ให้
               สอดคล้องกับหลักการตามมาตรา 77 และพัฒนาให้สอดคล้องกับหลักสากล โดยให้มีการใช้ระบบอนุญาตและระบบการ
               ด าเนินการโดยคณะกรรมการเพียงเท่าที่จ าเป็นเพื่อให้การท างานเกิดความคล่องตัว โดยมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน และไม่สร้าง
               ภาระแก่ประชาชนเกินความจ าเป็น เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ ...
                 (3) พัฒนาระบบฐานข้อมูลกฎหมายของรัฐโดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลกฎหมายได้สะดวก และ
               สามารถเข้าใจเนื้อหาสาระของกฎหมายได้ง่าย
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26