Page 177 - kpiebook65020
P. 177

138

                                                                                        รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                        โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”


                  ประเภทข้อมูล  รายการข้อมูล              หน่วย        ข้อสมมติฐาน      ข้อสมมติฐาน      ค าอธิบาย
                                                                      ส าหรับทางเลือก    เฉพาะกรณี
                                                                         ทุกกรณี
                                                                                                       เสียค่าปรับกับ
                                                                                                       นิติบุคคล



               3.2.3 ส่วนที่ 3 การค านวณต้นทุน-ประโยชน์

                     การค านวณต้นทุน-ประโยชน์ในการก ากับดูแลแต่ละทางเลือกอาศัยข้อมูลที่กล่าวถึงในเอกสารส่วนสรุปเป็น

               หลัก ตามที่แสดงในตารางที่ 2 ข้างต้น โดยมีผลการค านวณต้นทุน-ประโยชน์ตามแนวทางก ากับดูแลที่เสนอในแต่
               ละทางเลือก ดังนี้

                       3.2.3.1 สภาพปัจจุบัน (Base case)

                       ต้นทุนส าคัญในกรณีนี้คือ ต้นทุนจากการร้องเรียนและติดตามแก้ไขปัญหาเดือดร้อนร าคาญ ด้วยเหตุที่ไม่มี
               กฎหมายก าหนดผู้รับร้องเรียนเหตุเดือดร้อนจากการปล่อยเช่าระยะสั้นอย่างชัดเจน ผู้อยู่อาศัยร่วมประจ าที่มี
               เดือดร้อนร าคาญจากห้องที่ปล่อยเช่าระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์ม ร้อยละ 30 ของผู้อยู่อาศัยประจ าทั้งหมด หรือ
               28,800 ราย จึงต้องร้องเรียนต่อหน่วยงาน 5 แห่ง ได้แก่ นิติบุคคลคอนโดมิเนียม ต ารวจ ส านักงานเขต กรมการ

               ปกครอง และผู้ให้บริการแพตฟอร์ม

                       ความไม่ชัดเจนด้านกฎหมายส่งผลให้เกิดต้นทุนซ้ าซ้อนในการติดตามและแก้ไขปัญหาของหน่วยงานต่าง ๆ
               และเป็นภาระแก่ประชาชนผู้ร้องเรียนปัญหา

                       ผู้ประกอบการโรงแรมมีต้นทุนค่าเสียโอกาสซึ่งค านวณจากรายได้ที่เสียไปจากการแข่งขันโดยตรงจากธุรกิจ
               ปล่อยเช่าระยะสั้นฯ คณะผู้จัดอบรมก าหนดให้โรงแรมสูญเสียลูกค้าไปร้อยละ 20 (Occupancy  loss  rate –

               OLR) เมื่อค านวณมูลค่ารายได้ที่เสียไปจากการแข่งขัน พบว่า ธุรกิจโรงแรมสูญเสียรายได้ไป 1.75 พันล้านบาทต่อ
               ปี (ค านวณจาก จ านวนห้องเช่าระยะสั้น *ราคาห้องพัก*OLR*จ านวนวันให้เช่าห้องพักระยะสั้น)

                       อีกทั้ง ผู้ประกอบการโรงแรมยังมีต้นทุนด าเนินการตามกฎหมายโรงแรม ได้แก่ ค่าแจ้งข้อมูลผู้เข้าพักต่อ
               กรมการปกครองและส านักงานตรวจคนเข้าเมือง ค่าจ้างผู้จัดการโรงแรม (เดือนละ 1,5000 บาทตลอด 1 ปี) และ
               ค่าใบอนุญาต (อ้างอิงจากค่าใบอนุญาตโรงแรมประเภท 1) ในขณะที่เจ้าของห้องพัก (hosts) ไม่ได้มีต้นทุนดังกล่าว

               การแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการทั้งสองกลุ่มมีเป็นการแข่งขันที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของกฎระเบียบเดียวกัน จึงมี
               ต้นทุนต่างกัน
   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182