Page 186 - kpiebook65020
P. 186
147
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”
19
3.3 ข้อมูลจากงานวิจัยเพื่อประกอบการวิเคราะห์ความจ าเป็นในการตรากฎหมายตามกรณีศึกษา
ดูแลการปล่อยเช่าระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์มจะต้องท าความเข้าใจบริบทและความสัมพันธ์ของธุรกิจหรือ
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยเช่าระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์มด้วย โดยในการสัมมนาเชิงปฏิบัติได้มีการ
น าเสนอใน 3 อุตสาหกรรม ได้แก่ (1) การท่องเที่ยว (2) อสังหาริมทรัพย์ และ (3) ธุรกิจ โรงแรมหรือที่พัก
3.3.1 ผลกระทบต่อห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยว
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการปล่อยเช่าระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์มอย่างใกล้ชิด
เนื่องจากสถานที่พักอาศัยเป็นส่วนส าคัญห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยว (value chain) การปล่อยเช่าระยะสั้นผ่าน
แพลตฟอร์มเกิดขึ้นพร้อมกับพัฒนาการด้านเทคโนโลยีและเศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่
เปลี่ยนไป ซึ่งน าไปสู่ความต้องการที่จะเข้าถึงที่พักอาศัยและประสบการณ์ในรูปแบบใหม่
20
ในเบื้องต้น การปล่อยเช่าระยะสั้นผ่านแพลตฟอร์มมีผลกระทบเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
เนื่องจากแพลตฟอร์มช่วยเพิ่มปริมาณของที่พักและเพิ่มทางเลือกให้แก่นักท่องเที่ยว หากมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นก็จะ
เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อธุรกิจและงานบริการทีเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว อีกทั้ง หากราคาของที่พักใน
แพลตฟอร์มต่ ากว่าที่พักอาศัยดั้งเดิมอย่างโรงแรม ก็จะท าให้นักท่องเที่ยวประหยัดค่าใช้จ่ายด้านที่พัก
ความหยืดหยุ่น (Flexibility) ของแพลตฟอร์มเป็นผลกระทบด้านบวกอีกประการหนึ่งต่อการท่องเที่ยว
กล่าวคือ ปริมาณห้องพักสามารถปรับตัวได้ ตามความต้องการในช่วงเวลาหนึ่ง ส่งผลให้เพิ่มขีดความสามารถใน
การรองรับนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะสถานที่ซึ่งมีความต้องการที่พักที่มีความผันผวนสูง (large-scale fluctuating
market demand) เนื่องจากเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเพิ่มตามช่วงเทศกาลวันหยุดยาวหรือกิจกรรม
พิเศษ อาทิ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก Rio Summer Olympic Games ในปี ค.ศ. 2016 ที่ประเทศบราซิล มีการ
รายงานว่าแพลตฟอร์มได้ช่วยโรงแรมรองรับนักท่องเที่ยว 85,000 คน กรณีประเทศญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างส าคัญที่มี
การผลักดันการเช่าที่พักระยะสั้นเพื่อประโยชน์ทางการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเตรียมความพร้อมที่จะ
เป็นเจ้าภาพในการจัดโอลิมปิก ในปี ค.ศ. 2020 ซึ่งจะมีจ านวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงเวลาดังกล่าว
ส่วนประเทศไทยมีอุตสาหกรรมท่องเที่ยวขนาดใหญ่ และมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ก่อนช่วง COVID-
19) โดยนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทยก็มีหลากหลาย เช่น การเพิ่มนักท่องเที่ยวที่มีค่าใช้จ่ายต่อหัว
สูง การสนับสนุนการท่องเที่ยวเมืองรอง เป็นต้น โดยการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองนั้น ความหยืดหยุ่นของ
แพลตฟอร์มจะสามารถเพิ่มสถานที่พักที่อาศัยในพื้นที่ รวมถึงเป็นช่องทางโฆษณาและให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว
โดยเฉพาะนักท่องต่างชาติ ที่ต้องการข้อมูลภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่น ในขณะเดียวกัน นโยบายส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวเฉพาะเทศกาลก็ได้รับผลประโยชนจากแพลตฟอร์ม อาทิ การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sport tourism) อย่าง
19
ข้อมูลส่วนนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากคุณกัญจน์ จิระวุฒิพงศ์ สถาบันสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
20
“Tourism and the Sharing Economy: Policy & Potential of Sustainable Peer-to-Peer Accommodation,” World
bank group, (2018) จาก http://documents.worldbank.org/curated/en/161471537537641836/pdf/130054-
REVISED-Tourism-and-the-Sharing-Economy-PDF.pdf