Page 191 - kpiebook65020
P. 191

152
                                                                                     รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
                                    โครงการวิจัยเรื่อง “องค์ความรู้และเครื่องมือส าหรับการตรวจสอบความจ าเป็นในการตรากฎหมาย”

               เดียวเท่านั้นแต่อาจมีลักษณะส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่และเสรีภาพของประชาชนได้ด้วยเช่นกัน เช่น
               กฎปกป้องคุ้มครองผู้บริโภค หรือการออกใบอนุญาตของรัฐให้ประชาชนสามารถมีอิสระในการด าเนินการ

               บางอย่างได้ ยิ่งไปกว่านั้นหากเราขยายความหมายของค าว่ากฎออกไปให้กว้างที่สุด เราจะพบว่าแล้วกฎไม่
               จ าเป็นจะต้องออกโดยหน่วยงานของรัฐและแท้จริงแล้วในชีวิตประจ าวัน เราต่างพบเจอกฎอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่า
               จะเป็นการจูงมือเด็กข้ามถนน การให้ค าแนะน าและเสนอแนะกับงานของเพื่อนร่วมงาน การกล่าวชื่นชมผู้อยู่ใต้
                                                                     1
               บังคับบัญชาหรือการให้ความช่วยเหลือเมื่อได้รับการร้องขอ   โดยสรุปแล้วกฎเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้
               ชีวิตประจ าวันของเราด าเนินไปได้อย่างมีประสิทธิสูงสุด

                              1.1.1.2 เมื่อไหร่จึงต้องออกกฎ

                              จากที่กล่าวมาข้างต้น กฎนั้นถูกมองว่ามีลักษณะที่เป็นนโยบายอย่างหนึ่งที่ออกและบังคับใช้
               โดยรัฐ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้การด าเนินชีวิตของผู้คนในสังคมเป็นไปอย่างเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
               โดยกฎจะถูกบังคับใช้ผ่านการสร้างแรงจูงใจหรือหากมีการลงโทษก็มักไม่ใช่โทษที่รุนแรงอย่างกฎหมายอาญา

               การออกกฎนั้นจะช่วยให้คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น การออกกฎที่
               ไม่เพียงพออาจส่งผลทางลบแก่คุณภาพชีวิตของประชาชนแต่ในขณะเดียวกัน การออกกฎที่มากเกินไปก็อาจ
               สร้างภาระให้ประชาชนต้องปฏิบัติตามและเป็นการละเมิดเสรีภาพในการด าเนินชีวิตของประชาชนชนอีกด้วย
               จะสังเกตได้ว่าเป้าหมายที่ส าคัญที่สุดในการออกกฎคือ การเพิ่มสาธารณะประโยชน์ (Public Interest) ให้กับผู้
               ที่ต้องท าตามกฎ ดังนั้น ทุกครั้งที่มีการออกกฎ ผู้ออกกฎจ าเป็นที่จะต้องศึกษาให้ดีก่อนเสมอว่าการออกกฎจะ

               น าไปสู่การเพิ่มประโยชน์ให้แก่ประชาชนในสังคมหรือไม่


                                                                   แก้ปัญหาการผูกขาด

                                                                    แก้ปัญหาสินค้า
                                                                     สาธารณะ

                                                 แก้ปัญหาความล้มเหลว  แก้ปัญหาผลกระทบ
                                                    ของตลาด           ภายนอก
                                                                   แก้ปํญหาความไม่
                                                                   สมบูรณ์ของข้อมูล

                                                                    แก้ปํญหาการ
                                เมื่อไหร่จึงต้องออกกฎ
                                                                     ประสานงาน

                                                                   ส่งเสริมความยุติธรรม


                                                                   ปกป้องและคุ้มครอง
                                                  เพิ่มประโยชน์อื่นๆ
                                                                  สวัสดิภาพของประเทศ

                                                                     คุณค่าอื่นๆ


                                            ภาพที่  8 แผนภาพเหตุผลในการออกกฎ

               1  Peter Drahos, Regulatory Theory: Foundations and Applications, (Melbourne: ANU Press,2017).
   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196