Page 10 - kpiebook65053
P. 10
“ประเทศไทยในอนาคต Future Thailand : มิติที่ 2 สังคม ชนบท ท้องถิ่น” โดย สถาบันพระปกเกล้า
1) ฉากทัศน์สังคมอุดมสุข เป็นลักษณะสังคมที่มีระบบเศรษฐกิจแห่งการอยู่ร่วมกัน
(moral economy) มีการจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน สังคมมีสันติสุข ผู้คนใน
ชุมชนยึดมั่นในหลักธรรมค าสอนทางศาสนา สังคมมีความสามัคคีกลมเกลียวและมีความเป็น
หุ้นส่วนทางสังคมระหว่างรัฐ เอกชน ประชาชน มีการกระจายอ านาจไปสู่ชนบท มีการบริหารโดย
ยึดหลักธรรมาภิบาล เน้นการเสริมสร้างพลังของประชาชน (empowerment) ทั้งการให้
การศึกษา การรักษาวัฒนธรรมชุมชน การอนุรักษ์แหล่งต้นน้ า ป่าไม้ มีการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการจัดการพื้นที่การเกษตรอย่างสมดุลเพื่อสร้างความมั่นคงทาง
อาหาร เป็นสังคมที่ไม่ค่อยมีอาชญากรรมเพราะทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีทรัพยากรที่เพียงพอใน
การด ารงชีวิต เป็นสังคมแห่งภราดรภาพคือมีความเป็นพี่เป็นน้อง ความสัมพันธ์แบบเครือญาติที่
แต่ละคนคอยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
2) ฉากทัศน์สังคมสมดุลและยั่งยืน เป็นสังคมที่มีระบบเศรษฐกิจทางเลือก
นอกเหนือไปจากระบบเศรษฐกิจแบบตลาดคู่ขนานไปด้วยกัน คือ ระบบเศรษฐกิจชุมชนที่เน้น
การอยู่ร่วมกัน (moral micro economy) เป็นระบบเศรษฐกิจย่อยในชุมชนที่ด าเนินไปภายใต้
กฎของศีลธรรม มีความเสมอภาค เท่าเทียมระหว่างผู้บริโภคและผู้ผลิตที่มีกระบวนการและกลไก
การจ าหน่ายจ่ายแจกสินค้าและบริการที่อยู่บนพื้นฐานของศีลธรรม การก าหนดราคาที่เป็นธรรม
(just price) นอกจากนี้ยังเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ มีภูมิคุ้มกันทางปัญญา สามารถเข้าถึงและใช้
ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ เพื่อน ามาใช้ในการตัดสินใจวางแผนด าเนินชีวิตในอนาคตที่ไม่ส่งผล
กระทบต่อปัญหาครอบครัว ชุมชน และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นการด าเนินชีวิตที่เกื้อกูลต่อการ
สร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันทางสังคมของชนบท และการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
มีการปรับใช้วัฒนธรรมยั่งยืน (permaculture) ที่ค านึงถึงการพัฒนาเชิงจริยธรรม เน้นการดูแล
โลก การดูแลผู้คนและการแบ่งปันอย่างเป็นธรรม เน้นการสร้างทุนทางทรัพยากร (natural
capital) และทุนทางสังคม (social capital) มากกว่าทุนทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ มีการมุ่งเน้น
การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนมากกว่าการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อก าไร ลดการสะสมทุนมาสู่การสะสม
ทรัพยากรเพื่อสร้างสมดุลแก่ธรรมชาติ มองว่าโลกคือองค์อินทรีย์ที่มีชีวิต (mother earth) มีการ
รวมกลุ่มทางสังคม ผนึกพลังทางสังคม มีการเมืองภาคพลเมืองที่เข้มแข็ง และมีกลไกของสถาบัน
ทางสังคม รวมทั้งพัฒนานวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นจากทั้งภายในและองค์ความรู้จากภายนอก
เพื่อสร้างการเติบโตเศรษฐกิจของทั้งภายในชุมชนและระหว่างเครือข่ายต่าง ๆ ตลอดจนให้
ความส าคัญต่อการมีส่วนร่วมและความผูกพันของคนในสังคมมากกว่าการให้ความส าคัญของ
ปัจเจกที่มุ่งแสวงหาก าไรจากการผลิต เน้นการมีส่วนร่วมในการปกป้องสังคมชนบทจากการ
ครอบง าของทุนนิยมและกระแสบริโภคนิยมแบบสุดโต่ง รวมถึงการท าให้ชนบทเป็นแหล่งความ
มั่นคงทางอาหารของประเทศอย่างยั่งยืน
3) ฉากทัศน์สังคมปนสุขปนทุกข์ เป็นลักษณะของสังคมในปัจจุบันที่ถูกปล่อยให้
ด าเนินไปโดยไม่มีการปรับปรุงแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ การเมือง
สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สังคมชนบทในปัจจุบันเป็นสังคมที่ประชาเริ่มมีรายได้ไม่เพียงพอ มี
ปัญหาหนี้สิน ก าลังแรงงานภาคเกษตรลดลง เศรษฐกิจแผนใหญ่ยังมีการผูกขาดก่อให้เกิดความ
เหลื่อมล้ า ประชาชนบางกลุ่มยังไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะที่ดี เป็นสังคมที่อ านาจถูกรวม
ศูนย์ไว้ที่ส่วนกลาง ท าให้เมืองใหญ่มีเศรษฐกิจที่ดี แต่สังคมชนบทยังมีปัญหาความยากจน เป็น
สังคมที่แม้บางชุมชนจะมีการบริหารจัดการที่ดีแต่ก็ยังมีระบบอุปถัมภ์คอยเกื้อหนุน การช่วยเหลือ
9