Page 15 - kpiebook65053
P. 15
“ประเทศไทยในอนาคต Future Thailand : มิติที่ 2 สังคม ชนบท ท้องถิ่น” โดย สถาบันพระปกเกล้า
Consumption and Production) เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบ
นิเวศทางบกอย่างยั่งยืน (Life and Land) และเป้าหมายที่ 16 ส่งเสริมสังคมสงบสุข ยุติธรรมไม่แบ่งแยก เพื่อ
การพัฒนาที่ยั่งยืน (Peace and Justice Strong Institutions)
แนวทางที่คณะผู้วิจัยได้เสนอไว้ในทางเลือกสู่อนาคต (บทที่ 10) และแนวทางลดความเสี่ยงเพื่อไปสู่
สังคมสมดุลและยั่งยืน (บทที่ 9 หัวข้อ 9.4) นั้น สามารถน าไปก าหนดเป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนาประเทศ
ในอนาคต ผ่านกลไกทางนโยบายและหน่วยปฏิบัติ ได้ดังนี้
1) ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ด้านต่าง ๆ มีหลายด้านที่สามารถน าแนวทางเลือกสู่
อนาคตในรายงานวิจัยนี้ ไปก าหนดเป็นมาตรการในการขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ด้านนั้น ๆ
ได้แก่ ด้านการสร้างความมั่นคง ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ด้านการสร้างการ
เติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ในการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัตินั้นควรจะให้
ความส าคัญกับพลังของชุมชนในระดับฐานล่าง เป็นผู้มีบทบาทส าคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในระดับ
ท้องถิ่นโดยน าเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาคุณภาพสังคม (Social Quality) ทั้ง 4 ด้าน มาพิจารณาเป็น
แนวทางในการขับเคลื่อนในระดับชุมชน
2) การก าหนดกรอบการพัฒนาประเทศในระยะยาว ในช่วง 20-ปีข้างหน้า ทั้งในแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนปฏิรูปประเทศ ควรน าฉากทัศน์สังคม ชนบท ท้องถิ่น แบบสมดุลและ
ยั่งยืนมาก าหนดเป็นส่วนหนึ่งของทิศทางการพัฒนา โดยให้ความส าคัญกับการพัฒนาคุณภาพสังคมชนบท ซึ่ง
สามารถใช้แนวทางเลือกสู่สังคมชนบทที่พึงปรารถนาตามที่เสนอไว้ในงานวิจัยนี้ มาก าหนดเป็นมาตรการในการ
ขับเคลื่อนการพัฒนา
3) ในการจัดท ายุทธศาสตร์จังหวัด ควรพิจารณาถึงอนาคตระยะยาวของสังคมชนบทใน
ระยะ 15-20 ปีข้างหน้า (นอกเหนือจากการก าหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและการแก้ปัญหาระยะสั้น 3-5 ปี)
โดยน าภาพฉากทัศน์ของสังคมชนบทแบบต่าง ๆ ในรายงานวิจัยนี้ มาเป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ เพื่อ
ก าหนดเป้าหมายการพัฒนาระยะยาว โดยให้ความส าคัญกับการมีส่วนร่วมของพลังชุมชนชนบทในการก าหนด
ยุทธศาสตร์การพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการพัฒนาคุณภาพสังคมทั้ง 4 ด้านของสังคมชนบท
2.ข้อเสนอในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศจากฐานล่าง
การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศควรปรับกระบวนทัศน์จากการขับเคลื่อนโดย
กลไกของระบบราชการ มาเป็นการขับเคลื่อนจากระดับฐานล่างโดยพลังของชุมชน (Bottom-up) โดยภาครัฐ
ควรลดบทบาทจากการเป็นผู้ด าเนินการเองทั้งหมด มาเป็นผู้สนับสนุนและเอื้ออ านวยให้ภาคชุมชนเป็น
ผู้ด าเนินการ ทั้งนี้ในการขับเคลื่อนระดับชุมชนสามารถน าแนวทางที่มุ่งสู่สังคมชนบทแบบสมดุลและยั่งยืนมา
เป็นกรอบทิศทางการพัฒนา (Action Framework) เพื่อไปสู่สังคมชนบทที่พึงปรารถนาในอนาคต ซึ่งเป็น
สังคมชนบทที่มีฉากทัศน์สอดคล้องถึงเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (SDGs) และสอดคล้องกับหลักการ
ของ SDGs ที่ให้กระบวนการพัฒนาควรเป็นกระบวนการที่เริ่มจากฐานล่างขึ้นไปสู่ระดับนโยบาย (Bottom-
up) และที่ส าคัญภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมชนบทอันได้แก่ องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ
สถาบันต่าง ๆ ในชุมชน ควรเป็นบทบาทหลักในการน ายุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ และ SDGs ไป
ปฏิบัติ
14