Page 12 - kpiebook65053
P. 12

“ประเทศไทยในอนาคต Future Thailand : มิติที่ 2 สังคม ชนบท ท้องถิ่น”  โดย สถาบันพระปกเกล้า

                       ขณะที่แรงงานรุ่นใหม่มีแนวโน้มเข้าท างานในภาคบริการและอุตสาหกรรมมากขึ้น ประกอบกับ
               อิทธิพลของระบบทุนนิยมที่ท าให้เศรษฐกิจชนบทถูกก ากับโดยตลาด สังคมชนบทได้ปรับเปลี่ยนไปสู่การเป็น

               ครอบครัวขนาดเล็ก ปัจจุบันอัตราเจริญพันธุ์รวมยอด (Total Fertility Rate; TFR) ของประเทศไทยอยู่ที่
               ประมาณ 1.5 หากอัตรานี้ยังคงไปอีก 10 ถึง 20 ปีข้างหน้า เมื่อคนอายุระหว่าง 50 ถึง 60 ปีในปีนี้เสียชีวิตลง
               ในทุก ๆ 2 คนจะมีประชากรมาทดแทน 1.5 คน อาจท าให้ในอีก 10 ถึง 20 ปีข้างหน้า ประชากรในชนบทจะ
               ลดลงประมาณ 1 ใน 4 คนรุ่นใหม่จะเติบโตขึ้นมาในสภาพบริบทแวดล้อมแบบใหม่ซึ่งอาจมีความใส่ใจต่อ

               คุณภาพสังคมของท้องถิ่นน้อยลง คนรุ่นใหม่มุ่งการหารายได้ มีพฤติกรรมที่แสวงหารายได้ที่ดีกว่าการท า
               เกษตรกรรมเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ในด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันพบว่ามีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่าง
               ๆ ในชุมชนเพิ่มมากขึ้น ความไว้วางใจต่อกันมีน้อยลง เป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นว่าสถาบันต่าง ๆ ในชุมชน
               ชนบทมีความอ่อนแอลง ไม่สามารถมีบทบาทและท าหน้าที่ได้อย่างเข้มแข็งและเกื้อหนุนซึ่งกันและกันได้

               เหมือนในอดีต ประกอบกับโครงสร้างประชากรของไทยได้ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ ปัญหาผู้สูงอายุ
               กลายมาเป็นปัญหาสังคมใหม่ของสังคมชนบท สภาพการณ์ดังกล่าวนี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มระดับความรุนแรงมาก
               ขึ้น หากปล่อยให้เป็นไปตามสภาพการเปลี่ยนแปลงตามแนวโน้มดังกล่าว ในอีก 20 ปีข้างหน้าสังคมชนบทอาจจะ
               ต้องกลายเป็นสังคมอมทุกข์ (Unhappy Society) หรือสังคมปนสุขปนทุกข์ (Mixed Society) ซึ่งสังคมทั้งสอง

               แบบมีลักษณะดังนี้
                       สังคมอมทุกข์เป็นลักษณะของสังคมที่ขาดความสมดุล มีความเหลื่อมล้ ารุนแรง ประชาชนมีหนี้สิน
               ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ ขณะเดียวกันสังคมมีความแตกแยกและความขัดแย้งที่ร้าวลึก ผู้คนเห็นแก่ผลประโยชน์

               ส่วนตนและแสวงหาวัตถุและเงิน ระบบอุปถัมภ์มีบทบาทเพิ่มสูง นอกจากนี้ฐานทรัพยากรในชนบทถูกใช้ไปกับ
               อุตสาหกรรม ประชาชนในชนบทไม่สนใจท าการเกษตรและได้หันเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมและบริการท าให้
               ชนบทมีแนวโน้มที่จะขาดแคลนแหล่งอาหาร เกิดการแย่งชิงทรัพยากร และปัญหาสังคมอย่างรุนแรง สังคม
               ปราศจากความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคม
                       ส่วนสังคมปนสุขปนทุกข์ เป็นลักษณะของสังคมในปัจจุบันที่ถูกปล่อยให้ด าเนินไปโดยไม่มีการ

               ปรับปรุงแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ เป็นสังคมที่ยังคงมีความเหลื่อมล้ าทางรายได้ และการเข้าถึงบริการ
               สาธารณะ ตลอดจนการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา การมีงานท า มีการพัฒนาระหว่างเมืองกับชนบทที่ยังไม่
               สมดุล เช่น มีการเข้าไปแสวงหาทรัพยากรในชนบทมากขึ้น มีการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดการ

               ท าลายระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม คนในชนบทประสบปัญหาความเหลื่อมล้ า มีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย
               และมีหนี้สิน สถาบันทางสังคม เช่น สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา สถาบันครอบครัวท าหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์
               เต็มที่ส่งผลให้การกล่อมเกลาทางสังคมลดลง
                       สังคมทั้งสองแบบนี้จะส่งผลต่อคุณภาพสังคมของสังคมชนบท ทั้งความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคม

               ความสมานฉันท์ทางสังคม การรวมตัวกันทางสังคม และพลังทางสังคม หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปในอีก
               20 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มว่าจะเกิดภาวะวิกฤตขึ้นกับสังคมชนบทที่มีความอ่อนแอลง อาจถึงขึ้นเป็นสังคมที่
               ล่มสลาย และเมื่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมในระดับชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนในภาคอุตสาหกรรมและ
               บริการเมื่อเกิดภาวะวิกฤตขึ้นในอนาคตไม่ว่าจะเป็นภาวะวิกฤตจากโรคระบาดใหญ่ ภาวะวิกฤตจากการเงิน

               ภาวะวิกฤตจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ าท่วมใหญ่ในเมือง ในอดีตที่ผ่านมาแรงงานภาคบริการและอุตสาหกรรม
               ยังมีชนบทเป็นแหล่งรองรับภาวะวิกฤตได้ แต่ต่อไปในอนาคตหากสังคมชนบทค่อย ๆ แปรเปลี่ยนเป็นสังคม
               อมทุกข์และสังคมปนสุขปนทุกข์ สังคมชนบทอาจจะไม่สามารถรองรับภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นในอนาคตได้ และไม่
               สามารถที่จะเป็นฐานของการสร้างความมั่งคั่ง มั่นคง และการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศได้ การขับเคลื่อนการ

               พัฒนาก็จะย้ายศูนย์กลางไปอยู่ที่เมือง ภาคบริการและภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก




                                                           11
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17