Page 13 - kpiebook65053
P. 13

“ประเทศไทยในอนาคต Future Thailand : มิติที่ 2 สังคม ชนบท ท้องถิ่น”  โดย สถาบันพระปกเกล้า

                       อย่างไรก็ตามจากการคาดการณ์อนาคตโดยการฉายภาพฉากทัศน์ที่จะเกิดขึ้นคณะผู้วิจัยมีความเห็นว่า
               ยังมีฉากทัศน์ที่เป็นทางออกที่เป็นไปได้ที่จะป้องกันหรือลดความเสี่ยงไม่ให้สังคมชนบทไทยก้าวเข้าสู่การเป็น

               สังคมอมทุกข์และสังคมปนสุขปนทุกข์ คือการหาแนวทางสร้างสังคมชนบทให้เป็นสังคมสมดุลและยั่งยืน
                       สังคมสมดุลและยั่งยืนมีลักษณะที่เป็นสังคมมีระบบเศรษฐกิจชุมชนที่เน้นการอยู่ร่วมกัน (moral
               micro economy) เป็นระบบเศรษฐกิจย่อยในชุมชนที่ด าเนินไปภายใต้กฎของศีลธรรม มีความเสมอภาค
               เท่าเทียมระหว่างผู้บริโภคและผู้ผลิตที่มีกระบวนการและกลไกการจ าหน่ายจ่ายแจกสินค้าและบริการที่อยู่บน

               พื้นฐานของศีลธรรม การก าหนดราคาที่เป็นธรรม  นอกจากนี้ยังเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้มีภูมิคุ้มกัน
               ทางปัญญา สามารถเข้าถึงและใช้ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ เพื่อน ามาใช้ในการตัดสินใจวางแผนด าเนินชีวิต
               ในอนาคตที่ไม่ส่งผลกระทบต่อปัญหาครอบครัว ชุมชน และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นการด าเนินชีวิตที่เกื้อกูล
               ต่อการสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันทางสังคมของชนบท และมีการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ มี

               การปรับใช้วัฒนธรรมยั่งยืน (permaculture) ที่ค านึงถึงการพัฒนาเชิงจริยธรรม เน้นการดูแลโลก การดูแล
               ผู้คนและการแบ่งปันอย่างเป็นธรรม เน้นการสร้างทุนทางทรัพยากร (natural capital) และทุนทางสังคม
               (social capital) มากกว่าทุนทางเศรษฐกิจ
                       สังคมสมดุลและยั่งยืนเป็นภาพฉากทัศน์ที่พึงปรารถนาเหมาะส าหรับสังคมไทยในอนาคต คณะผู้วิจัยมี

               เหตุผลอยู่ 4 ประการ ที่น าเสนอฉากทัศน์ดังกล่าวนี้
                       ประการที่หนึ่ง การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยจะต้องสร้างความมั่นคง
               จากระดับฐานล่าง คือ สังคมชนบท ให้เป็นสังคมที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม

                       ประการที่สอง สังคมสมดุลและยั่งยืนมีแนวทางและมาตรการที่เป็นไปได้สูง หากทุกภาคส่วนของ
               สังคมร่วมมือกันขับเคลื่อนตามข้อเสนอเชิงนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ที่คณะผู้วิจัยได้เสนอไว้ ที่ส าคัญ
               ข้อเสนอเชิงนโยบายและมาตรการดังกล่าวนี้เป็นการน าหลักการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่ง
               ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หมวด 6 ว่าด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐมาตรา 75 มาปฏิบัติให้เกิดผลและให้เป็น
               รัฐธรรมนูญที่คนไทยทุกคนสามารถสัมผัสได้ ปฏิบัติได้ และเห็นผลจริง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ “ให้เป็น

               รัฐธรรมนูญที่กินได้” ดังความในมาตรา 75 บัญญัติเอาไว้ว่า
                              “…รัฐพึงจัดระบบเศรษฐกิจให้ประชาชนมีโอกาสได้รับประโยชน์จากความเจริญเติบโตทาง
                       เศรษฐกิจไปพร้อมกันอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และยั่งยืน สามารถพึ่งพาตนเองได้ตามหลักปรัชญาของ

                       เศรษฐกิจพอเพียง ขจัดการผูกขาดทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรมและพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน
                       ทางเศรษฐกิจของประชาชนและประเทศ
                              รัฐต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชนเว้นแต่กรณีที่มีความจ าเป็น
                       เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม การจัดให้มี

                       สาธารณูปโภค หรือการจัดท าบริการสาธารณะ
                              รัฐพึงส่งเสริม สนับสนุน คุ้มครอง และสร้างเสถียรภาพให้แก่ระบบสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ
                       และกิจการวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลางของประชาชนและชุมชน
                              ในการพัฒนาประเทศ รัฐพึงค านึงถึงความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุ กับการพัฒนา

                                                                           1
                       ด้านจิตใจและความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชน ประกอบกัน…”
                       หากพิจารณาสาระส าคัญของรัฐธรรมนูญในมาตรานี้จะเห็นว่าสังคมสมดุลและยั่งยืนเป็นสังคมที่มี
               องค์ประกอบครบถ้วนตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 75




                     1  OCSC Wiki. 2560. องค์ความรู้กฎหมาย: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560.


                                                           12
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18